การแปรค่าอารมณ์สู่การสร้างสรรค์งานศิลปะ: กรณีศึกษาผลงานศิลปะชุด “ความเศร้าอันงดงาม”

Main Article Content

วัชราพร อยู่ดี

Abstract

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายถึงกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะของผู้ศึกษา กรณีการสร้างสรรค์ผลงานชุด “ความเศร้าอันงดงาม” ซึ่งมีที่มาจากประสบการณ์ตรง คือ การสูญเสียลูกเมื่อแรกคลอด ความสั่นสะเทือนทางใจที่รุนแรงกลายเป็นความบันดาลใจให้สร้างสรรค์ผลงาน

สิ่งที่ศึกษา คือ ผลงานศิลปะจำนวน 10 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 ชุด โดยวิเคราะห์การใช้สัญญะแทนค่าอารมณ์ด้วยทัศนธาตุต่างๆ ที่มีนัยยะสำคัญ ได้แก่ รูปทรง สี น้ำหนัก และพื้นที่ว่าง ความสัมพันธ์ของระดับอารมณ์กับกระบวนการแสดงออกในผลงาน วิเคราะห์เปรียบเทียบทั้งชุดที่ 1 และ 2 รวมถึงการนำไปเปรียบเทียบกับผลงานของศิลปินหญิงที่มีประสบการณ์ตรงเช่นเดียวกันคือ ฟรีดา คาร์โล (Frida Kahlo)

ผลการศึกษาทำให้เห็นวิธีคิดและแนวทางการสร้างสรรค์ของผู้ศึกษาว่าเห็นความสำคัญของการแปรค่าอารมณ์กับกระบวนการสร้างสรรค์งาน มีวิธีคิดแบบเป็นภาพ และใช้อารมณ์ความรู้สึกมากกว่าความคิดที่เป็นเหตุผล ซึ่งมีพัฒนาการคลี่คลายไปตามลำดับ เมื่อนำผลงานมาประเมินคุณค่าตามหลักของเอ็ดมันด์ เบริ์ก เฟลด์แมน (Edmurd Burke Feldman) แล้ว ยังพบว่ามีคุณค่าทับซ้อนกันทั้ง 3 ข้อ คือ มีทั้งความงาม การแสดงออกทางความรู้สึกและการยกระดับจิตใจ กอปรกับด้วยระยะเวลาที่ผ่านพ้นไปพอสมควร จึงเกิดมุมมองการวิเคราะห์ด้วยสายตาที่เปิดกว้างและกระจ่างแจ้ง ในที่สุดจึงค้นพบคุณค่าและความหมายของการสร้างสรรค์งานศิลปะที่สะท้อนแทนอารมณ์ที่มีพื้นฐานจากชีวิตจริงนั่นคือ การเข้าถึงทั้งความจริงในการแสดงออกซึ่งงานศิลปะและความจริงแท้ในการเอาชนะความทุกข์

 

An emotionally variation turns to creative arts Case Study: Creative Arts “Beautiful Sadness.”

This article is presented to explain my process in the creative art in “Beautiful Sadness” which directly from the sad experience of loosing my first child after birth. The deepest depressed emotion the creation of these artworks.

To study these ten artworks they are divided into two sets; They are analyzed by using symbols as substitutes for emotion. Visual elements, which have significance are form, colors, tone and space. Also I analyze the relation of emotion and process in the work. Analysis compared both sets, as well as compared to the artworks of a female artist, who had a similar direct experience : Frida Kahlo.

This study showed the way of thinking and the creative approach in the process of creation and the variation of mood are important and that these artworks were created with emotion more than reason. Evaluating the principles of emotion, as per Edmund Burke Feldman, I have found three more values in my work, i.e.: being beautiful, feeling expression and elevating the mind.

As time went by for a while, this analysis was viewed with wider and clearer perspectives and I finally discovered valuable real meanings of art-creation, which reflected the emotions from real life. That is to appreciate in art-expression the truth in real life and the truth to believe sadness.

Article Details

Section
Articles