การสร้างพื้นที่ทางสังคมของช่างไทใหญ่ผ่านการฉายภาพวรรณกรรม เรื่องบัวระวงศ์หงส์อามาตย์ ในงานจิตรกรรมวัดสบลี
Main Article Content
Abstract
ความนิยมการเสพวรรณกรรมแบบชาวบ้าน (การเล่าค่าว - การฟังค่าว – ค่าวธรรม) เปิดพื้นที่ให้จิตรกรรมพุทธประวัติหรือพุทธชาดกถูกแทนที่ความนิยมด้วยชาดกนอกนิบาต การฉายภาพจิตรกรรมจึงเป็นการสร้างความจริงเชิงประจักษ์ให้แก่กลไกการเสพความบันเทิงของชาวบ้านดังเรื่องบัวระวงศ์หงส์อามาตย์แห่งวัดสบลี เบื้องหลังภาพจิตรกรรมยังเป็นการแสดงตัวตนของช่างไทใหญ่ผ่านพื้นที่วัฒนธรรมในล้านนา ขณะเดียวกันก็อาจแสดงให้เห็น“การพลัดถิ่น” ที่นำเอาความหมายของตัวละครในวรรณกรรม/จิตรกรรมมาสร้างสรรค์ภายใต้บริบทการอพยพโยกย้ายของผู้คนไทใหญ่หรือผู้คนตัวเล็กตัวน้อยที่ปะทะประสานความสัมพันธ์เชิงอำนาจขึ้นในช่วงราวปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 25 อีกด้วย
Social Space Construction from Tai Yai Craftsman on pictorial literature from Buarawong Hong Amat in Painting at Wat Sop lee.
Addiction popular folk literature open space for painting Buddha life replaced with allegory outside Nibat. Projection Painting extend the empirical truth to social space of the addictive entertainment of villagers as Buarawong Hong Amat mural at Wat Sop Lee. Behind
the painting to express the identity of Tai Yai in Lanna culture. Meanwhile, it could be demonstrated. “The Diaspora” to bring out the meaning of a character in literature / creative painting. In the context of migration of Tai Yai or a little less coordinated strike at power relations in the late 24th century to the first half of the 25th century as well.