การศึกษางานสร้างสรรค์จิตรกรรมบาติกจากลวดลายล้านนาจังหวัดลำปาง
Main Article Content
Abstract
การศึกษางานสร้างสรรค์จิตรกรรมบาติกลวดลายล้านนา จังหวัดลำปางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลวดลาย การประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมล้านนาของวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดปงยางคก และวัดไหล่หิน ซึ่งได้นำเอาแรงบันดาลใจจากการได้ศึกษาจากสถานที่จริง รูปแบบลักษณะลวดลายของช่างชาวล้านนาในการตกแต่งภายในและภายนอกวิหาร รวมถึงซุ้มประตูโขงและธรรมาสน์โดยมีการถ่ายทอดลวดลายเป็นผลงานจิตรกรรมเทคนิคบาติกลายเขียน 3 ชุด จำนวน 8 ชิ้น จากนั้นจึงนำผลงานมาวิเคราะห์เนื้อหาและรูปทรงการแสดงออกของทัศนธาตุ
ผลของการศึกษาทำให้เห็นคุณค่าความงามของลวดลายที่มีเอกลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ตำแหน่งต่างๆ ในจิตรกรรมลายคำต้นศรีมหาโพธิ์ ปูนปั้นมอมบริเวณฐานชุกชีภายในวิหารนํ้าแต้ม รวมถึงพุทธศิลป์ เช่น ลวดลายจากธรรมาสน์ที่แกะสลักจากไม้ภายในวิหารหลวงวัดพระธาตุลำปางหลวง ต้นศรีมหาโพธิ์ และลายหม้อดอก (ปูรณฆฏะ) วิหารจามเทวี วัดปงยางคก ลวดลายปูนปั้นซุ้มประตูโขงและปูนปั้นลายหม้อดอก (ปูรณฆฏะ) ฐานชุกชี วัดไหล่หิน การประยุกต์ลวดลายผ่านรูปแบบจิตรกรรมบาติกและใช้ในการเรียนการสอน เป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยให้การเผยแพร่ศิลปะล้านนาของจังหวัดลำปางนับวันจะเลือนหายให้เป็นที่รู้จักในเชิงผลงานจิตรกรรมที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้ รูปแบบลวดลายต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ เครื่องแต่งกายหรือของตกแต่งให้เข้าถึงบุคคลทั่วไปให้ได้รับสุนทรียภาพจากความงามของลวดลายล้านนามากขึ้น
The study on the creative work of batik painting with Lanna motifs of Lampang province
The objective of the study on the creative work of batik painting with Lanna motifs of Lampang province is to study on motifs and decorative style of Lanna architectural works of Phra That Lampang Luang Temple, Pong Yang Khok Temple and Lai Hin Temple. This study is inspired by the chances to visit the original sites to see forms and characteristics of Lanna motifs that are used for decorate inside and outside the chapels of temples, as well as Khong Arch and pulpits. All the experienced motifs are restructured and shown as 3 sets of batik paintings consisting of 8 pieces of works in total. Afterwards, the works are analyzed in terms of contents and forms of expressions of the visual elements. This study leads to the appreciation of the aestheticism and beauty of unique motifs that appear in many places of the Lai Kham (Gold Motif) painting of Si Maha Pho Tree,Mom motifs at the base of the Buddha Image in Nam Taem Chapel, and other Buddhist arts such as motifs on the pulpit carved from wood in the Grand Chapel of Phra That Lampang Luang Temple, Si Maha Pho Tree Painting and the decorative item called Puranakhata (a pot with flowers and trees) in Cham Thewi Pavillion, Pong Yang Khok Temple, decorative motifs on Khong Arch and plaster Puranakhata (a pot with flowers and trees) at the base of the Buddha Image in Lai Hin Temple. The application of the motif to Batik painting and to teaching and learning can be a way to promote Lanna Arts of Lampang Province that have been forgotten to be known once again in the forms of paintings that can be adapted to attires and household decorative products that allow more people to easily appreciate the aestheticism and beauty of Lanna motifs.