จองวัดม่อนจำ ศีล ลำปาง : ลักษณะทางสถาปัตยกรรมจองอย่างพม่าและพัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรม

Main Article Content

เกรียงไกร เกิดศิริ
ฐาปกรณ์ เครือระยา
อิสรชัย บูรณะอรรจน์

Abstract

“จองแบบพม่าที่วัดม่อนจำศีล ลำปาง: ลักษณะทางสถาปัตยกรรมจองอย่าง พม่า และพัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในผังบริเวณวัดม่อนจำศีล และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของจองเมื่อแรกสร้าง ตลอดจนเพื่อการบันทึกข้อมูลสภาพปัจจุบันของจอง ตลอดจนสถานการณ์การอนุรักษ์เพื่อเป็นฐานข้อมูลในลักษณะจดหมายเหตุ เพื่อเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของตัวอาคารเฉกเช่นเดียวกันกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่เกิดขึ้นมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์

จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธ์ุซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลังอย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่อาจรักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ การปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอด และปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่าทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีการรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่าเป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลจากมุมมองทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภาพนี้จึงกลายเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีล ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร

สำหรับเนื้อหาส่วนที่ 2 นั้นเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสรุปของสภาพ และสถานการณ์ปัจจุบันของวิหารวัดม่อนจำศีลที่กำลังอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนัก เนื่องจากขาดการทำนุบำรุงและการดูแลมาอย่างยาวนาน ทว่าเริ่มมีความพยายามในการอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และองค์กรเอกชนที่มีจิตสำนึกในการพิทักษ์รักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ทว่ายังคงติดขัดปัญหาบางประการ ซึ่งในอนาคตเมื่อกระบวนทัศน์ต่อการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรม และมรดกทางสถาปัตยกรรมมีทิศทางที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น คงจะเป็นทิศทางที่สร้างความยั่งยืนต่อการบริหารจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

 

Wat Mon Cham Sin Kyuang, Lampang Province: Characteristics Burmese Architecture and Architectural Development

The study on “Wat Mon Cham Sin Kyuang, Lampang Province: Characteristics Burmese Architecture and Architectural Development” aims at studying the valuable history and architecture, i.e. the compounds, of Wat Mon Cham Sin in Lampang Province. The data of the current conditions of the temple were collected so as to be the database for the study onagricultural changes of historical buildings.

It was found that this historical monastery is related to different ethnic groups who originally were in Myanmar. They moved southward to settle down their families and businesses in Lampang Province. Therefore, they built the temple in Burmese style in order to link themselves with their original culture. However, the original Wat Mon Cham Sin had not been preserved due to restoration and reconstruction from time to time. The original form of the temple had not been recorded. People just learn about it through oral dissemination or storytelling. Hence, this study is based on the comparison between the studied monastery and othersthat were built at the same period. Fortunately, in 2013 there was a publication of photo collections of monasteries in Lampang Province, one of which could not be identified at first, but was lately found out to be the photo of Wat Mon Cham Sin, taken from the southeast side. This evidence is important becauseit gives the clues concerning the original architectural form of the monastery.

The second part presents the overall state and current conditions of the monastery which have been declined due to the lack of restoration for a long period of time. However, there have recently been the attempts to conserve and restore the monastery by the locals and the private sectors that are concerned with the conservation architectural and cultural heritages; butthere are some problems and obstacles in conservation process. In the future, when people’s attitudes towards cultural and architectural heritage management puts more focuses on the participations of all the stakeholders, the management of architectural and cultural heritages of humankind tends to be sustainable.

Article Details

Section
Articles