Politics Across the Mekong River: the Relationship Between Nan and Sipsong Panna in the Nineteenth Century

Main Article Content

Ratanaporn Sethakul

Abstract

This essay examines the relationship between Nan and Sipsong Panna in the early nineteenth century as a means to explore the causes of the Chiang Tung invasions of the 1850s. The author found that close relationship between Nan and Sipsong Panna and the problematic Tai tributary system were the main causes of these wars. One of the main reasons that Siam started the invasions into Chiang Tung in the 1850s and later on, Nan attempted to force Chiang Khaeng to be under Siamese suzerainty was to extend its power to Sipsong Panna and other Tai states and to easily rule the east bank of the Mekong. However to reach that goal, Chiang Tung and other small Tai states nearby had to be taken under Siam’s control because these states had been under the same tributary system of being muang song fai fa or muangsamfai fa of China, Burma and Vietnam. Nan was willingly supporting Siam’s expansionist policy, becoming the Siamese agent in establishing her suzerainty over this area. Both of them shared Interest and benefit from these wars. Nan wanted to protect the Lue people who were moved into its territory because manpower was very important for the state’s strength politically and economically . The trade interaction across the Mekong River was also Nan’s concern. Siamese military strength could make Nan’s influence stronger as the agent of a super power. Even though Siam failed to seize Chiang Tung, Nan still continued its expansionist policy across the Mekong River until the border lines were settled by the French and the British in the year 1893. Politics across the Mekong River in the nineteenth century was carried out by kin relationships of the Tai speaking peoples living along this river. Nan expansion into the Lue areas south of Sipsong Panna was facilitated by their historical relationship as ban phi muangnong, village of the older sibling, city of the younger sibling.

 

การเมืองข้ามฝั่งโขง : ความสัมพันธ์ระหว่างน่านกับสิบสองปันนา

บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน่านกับสิบสองปันนาระหว่างต้น คริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของสงครามเชียงตุงในทศวรรษ 1850 ผู้เขียนพบว่าความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างน่านกับสิบสองปันนาและระบบ รัฐบรรณาการที่สับสนไม่แน่นอนเป็นสาเหตุหนึ่งของสงคราม สาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งที่ทำให้สยามโจมตีเชียงตุงและต่อมาน่านพยายามบังคับให้ เชียงแขงยอมรับอำนาจของสยามคือ ความต้องการของสยามที่จะขยายอำนาจ เข้าไปสู่สิบสองปันนาและรัฐไทอื่นๆ เพื่อที่จะปกครองบ้านเมืองฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำโขงได้โดยง่าย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวสยามต้องยึดครอง เชียงตุงและบ้านเล็กเมืองน้อยใกล้เคียงที่อยู่ภายใต้ระบบรัฐสองฝ่ายฟ้าหรือ สามฝ่ายฟ้าภายใต้การปกครองของพม่า จีน และเวียดนามให้ได้ น่านเต็มใจ สนับสนุนนโยบายขยายอำนาจของสยามและเป็นตัวแทนของสยามในการก่อตั้ง อำนาจอธิราชเหนือดินแดนเหล่านี้ ทั้งคู่แบ่งปันผลประโยชน์จากการทำสงครามน่านต้องการปกปักรักษาไพร่พลชาวลื้อที่ตนเองกวาดต้อนมาเพราะกำลังคนมี ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้มแข็งทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐ ความ สัมพันธ์ทางการค้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มพูนอำนาจและความมั่งคั่งให้ กับน่าน อำนาจทางการทหารของสยามทำให้อิทธิพลของน่านในฐานะตัวแทน สยามเด่นชัดขึ้น หลังจากสยามยุติสงครามเชียงตุงน่านยังคงขยายอำนาจไปยัง บ้านเมืองอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำโขงจนกระทั่งอังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาจัดการ ปักปันเขตแดนในปี 1893 การเมืองสองฝั่งแม่น้ำโขงในคริสตศตวรรษที่ 19 ดำเนินไปภายใต้ระบบเครือญาติของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทสองฟากฝั่งแม่น้ำนี้ ความสัมพันธ์ฉันบ้านพี่เมืองน้องทำให้น่านขยายอำนาจเข้าไปทางใต้ของสิบสอง ปันนาอย่างสะดวก

Article Details

Section
Articles