การขับขานวรรณกรรมล้านนา : จ๊อย

Main Article Content

คณิเทพ ปิตุภูมินาค
ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี
สงกรานต์ สมจันทร์

Abstract

จ๊อย คือ การขับขานวรรณกรรมประเภทคร่าว หรือ ค่าว มีลีลา (เรียกว่าระบำ) ใช้สำหรับขับขาน 3 ประเภทได้แก่ ระบำวิงวอน ระบำโก่งเฮียวบง และระบำม้าย่ำไฟ บทความนี้นำจ๊อยมาวิเคราะห์ โดยใช้องค์ความรู้ด้านดนตรีชาติพันธุ์วิทยาผสานกับองค์ความรู้ด้านภาษาศาสตร์เพื่อหาลักษณะเฉพาะของการจ๊อย จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เขียนได้นเสนอประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่ 1) การเอื้อนในการจ๊อยมี 3 รูปแบบคือ การเอื้อนแบบเคลื่อนโน้ต การเอื้อนแบบลากยาว และการเอื้อนในคำ การเอื้อนพบอยู่ในการจ๊อยระบำวิงวอนและระบำโก่งเฮียวบงซึ่งพบในตำแหน่งต่างกัน 2) ทำนองจ๊อย มี 4 ประเภท ได้แก่ ทำนองหลัก ทำนองรอง ทำนองเสริม และทำนองเสียงซ้ำและ 3) การสร้างทำนองจ๊อยมีความสัมพันธ์กับภาษาถิ่น โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กันใน 3 รูปแบบคือ ทำนองที่เกิดจากการบังคับของวรรณยุกต์ ทำนองที่เกิดจากการสวนทางกันระหว่างทำนองและเสียงวรรณยุกต์ และ ทำนองที่เกิดอย่างอิสระ

 

Joi : Sing a Lanna Traditinal Literature

Joi is a form of a traditional song using lyric from Kao, a form of Lanna traditional literature. Joi have three singing styles called “Labam”; Labam Wing Won, Labam Kong Hiaw Bong, and Labam Ma Yam Fai. This article presents a description of the melodic style of Joi based on the concept of Ethnomusicology and Linguistics. There are three main issues that are presented. 1) Uean, to draw the voice in Thai-style melismatic singing between two words of a song, have three styles; moving pitch uean, long-tone uean, and uean in a word. 2) There are four characteristics of melodic organization of Joi; Tam Nong Lak (main melodic line), Tam Nong Rong (secondary melodic line), Tam Nong Serm (supported melody), and Tam Nong Sum (repeated melody). 3) The creating of Joi melodies related to the intonation of Thai Northern vernacular language by three approaches; parallel motion with tonal marks, contrary motion with tonal marks, and independent deviation from tonal makes.

Article Details

Section
Articles