ตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรมในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไต : กรณีศึกษาชุมชนไต อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อรวรรณ วิไชย

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวาทกรรมของไตว่าด้วยเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ปรากฏในลัทธิพิธีและความเชื่อของชุมชนไต อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรมผ่านพิธีกรรมและความเชื่อของชุมชนไตที่สัมพันธ์กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างวาทกรรมเชิงอำนาจ (ลัทธิพิธีและความเชื่อ) ผ่านสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของชุมชนไตในอำเภอเวียงแหง และ 3) เพื่อศึกษาถึงผลของวาทกรรมความเชื่อว่าด้วยเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีผลต่อชุมชนไตในอำเภอเวียงแหง ผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการของความเชื่อของมนุษย์ (belief system) คือ ตำนานเรื่องเล่า (myth) พิธีกรรมหรือกิจกรรม (rite) และ ระบบสัญลักษณ์ (symbol)

ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนไตมีความเชื่อในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผ่านตำนานที่มีเรื่องราวโยงความสัมพันธ์กับพระองค์ ด้วยความเชื่อพื้นฐานเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อเรื่องวีรบุรุษของชุมชนไต ทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้าไปอยู่ในความเชื่อของสังคมไตในฐานะ “วีรบุรุษสิ่งศักดิ์สิทธิ์”

ผลของวาทกรรมสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีต่อชุมชน ทให้พื้นที่อำเภอเวียงแหงกลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณชายแดน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีสถานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพื้นที่ มีการเชื่อมโยงเรื่องเล่าสถานที่ต่างๆ เข้ากับความเชื่อเรื่องการเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชุมชนมีการประกอบพิธีกรรมทั้งระดับปัจเจก ระดับชุมชน และระดับรัฐ ดังจะเห็นได้จากการสร้างเหรียญ การสร้างรูปประติมากรรมของพระองค์เข้าไปไว้ในวัดต่างๆ การเกิดเจ้าทรงเจ้าพ่อองค์ดำในพื้นที่ และพิธีบวงสรวงในวันสำคัญประจำปี ทั้งนี้วาทกรรมในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชต่อชุมชนไตเวียงแหงนั้น ไม่เพียงแต่ส่งเสริมประวัติศาสตร์ชุมชนไต หากยังช่วยเสริมการสร้างชาติไตด้วยการเข้าไปเป็นวีรบุรุษในสังคมไตอีกด้วย

 

Legend, Believe and Ritual in King Naresuan Maharaj of Tai: A Case Study on the Tai Community, Wiang Haeng District, Chiang Mai Province.

This article aims to study the discourse on King Naresuan Maharaj on rituals and believes of the Tai community at Wiang Haeng District, Chiang Mai Province. The purposes of this study are 1) to study and analyze discourse through culture and believe of the Tai which relate to King Naresuan Maharaj at Wiang Haeng District, 2) to study and analyze discourse processes about culture and believe through King Naresuan Maharaj’s ruling in the Tai’s legends, and 3) to study the King Naresuan Maharaj discourse effected in the Tai community, by analyzing the 3 significant elements of belief system; myth, rite and symbol.

The finding indicates that the reasons King Naresuan Maharaj became “the holy hero” of the Tai community are their basic sanctity beliefs and Tai hero beliefs. So, the Tai community believes in King Naresuan Maharaj legend through the involvement story.

The result of King Naresuan Maharaj discourse for Tai makes Wiang Haeng District a border sacred place. His army moving narrative is related to various places he passed by. There are three levels of ceremonies of King Naresuan Maharaj; individual level, community level, and state level, as we can see from the creation process of the coins, the figures in temples and the cult of Sao-Por Ong-Dum (the medium of King Narasuan). The discourse of King Naresuan Maharaj involves Wiang Haeng Tai not only becomes part of the history of Tai but King Naresuan Maharaj himself also becomes the hero of the Tai community.

Article Details

Section
Articles