บทบาทของดนตรีกับการขยายพื้นที่ในการแสดงออกทางศิลปะ

Main Article Content

อภิรักษ์ เจียรพินิจนันท์
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์

บทคัดย่อ

ความเชื่อมโยงของดนตรีกับการแสดงออกทางศิลปะคือดอกผลจากการเกิดขึ้นของศิลปะสมัยใหม่และได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดของศิลปินที่มีดนตรีเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยวิธีการวิเคราะห์ถึงที่มาของแนวคิดอันสำคัญที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งทางรูปแบบและวิธีการสร้างสรรค์ของศิลปินในแต่ละยุคสมัยและบริบททางสังคม วัฒนธรรมเฉพาะในแต่ละช่วงเวลาผลการศึกษาพบว่า 1) ก่อนปีคริสต์ศักราช 1900 ศิลปินเริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยน ตอบโต้แนวคิดและแรงบันดาลใจซึ่งกันและกันระหว่างดนตรีและศิลปะผ่านผลงานจิตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยศิลปินกลุ่มอิมเพรสชันนิสต์และโพสอิมเพรสชันนิสต์ 2) ต่อมาดนตรีได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญกับการกำเนิดของศิลปะนามธรรม จากแนวคิดที่เชื่อว่าดนตรีนั้นมุ่งแสดงความเป็นนามธรรมของธรรมชาติ และดนตรีคือความเป็นนามธรรมโดยธรรมชาติในตัวเอง และเสียงดนตรีเองนั้นไม่เคยที่จะอธิบายโลกภายนอก แต่เป็นการแสดงออกของความรู้สึกภายในจิตวิญญาณ ซึ่งแนวคิดนี้พบได้ในผลงานของคานดินสกีและอาร์โนลด์ เชินแบร์ก 3) จนกระทั่งผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดนตรีและศิลปะเริ่มเคลื่อนตัวเข้าหาสังคมมากขึ้น เมื่อลุยจิ รุซโซโล และศิลปินกลุ่มฟิวเจอริสม์ จงใจใช้เสียงดนตรีแบบใหม่และสื่อหลากหลายประเภทเพื่อสื่อสารแนวคิดสู่มวลชน ดนตรีและศิลปะสร้างแรงบันดาลใจแก่กันและกันมานับทศวรรษ จนในปัจจุบันเสียงและบทเพลงต่าง ๆ ในงานศิลปะไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านรูปทรง เส้น สี น้ำหนัก และแสงเงาอีกต่อไป เสียงทุกเสียงต่างมีความหมายในตัวเอง การประพันธ์ดนตรีจึงไม่ได้
เป็นเพียงเพื่อความไพเราะ เช่นเดียวกับศิลปะที่ไม่ได้เป็นแค่การนำเสนอความงามเพียงอย่างเดียว ทั้งดนตรีและศิลปะต่างอุดมไปด้วยภาวะทางอารมณ์ความรู้สึก เนื้อหา เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสังคม และที่แน่นอนที่สุดคือการสะท้อนความคิดออกมาในผลงาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Albright-Knox Art Gallery. (n.d.). Manaò tupapaú (Spirit of the Dead Watching) [Photo]. Buffalo akg art museum. https://www.albrightknox.org/artworks/19651-manaò-tupapaú-spirit-dead-watching

Centre Pompidou. (n.d.). Improvisation XIV [picture]. Centre pompidou. https://www.centrepompidou.fr/en/ressources/oeuvre/cKxzXqo

C.G. (n.d.). The Skandalkonzert of 1913, or the most Viennese fight of all time [picture]. secretvienna. https://secretvienna.org/the-skandalkonzert-of-1913-or-the-most-viennese-fight-of-all-time/

Detroit Institute of Arts. (n.d.). Nocturne in Black and Gold, the Falling Rocket [picture]. Dia. https://www.dia.org/art/collection/object/nocturne-black-and-gold-falling-rocket-64931

Kandinsky, W. (2015). Concerning the Spiritual in Art. Translated by Michael T. H. Sadleir. New York, NY: Dover Publications.

Marzona, D. (2009). Conceptual Art. Translated by Tatsajun, A. Bangkok: Chiang Mai Fine Arts.

Milano città stato. (2019, February 26). La prima SERATA FUTURISTA a Milano fu un caos pazzesco [picture]. Milanocittastato. https://www.milanocittastato.it/featured/la-serata-futurista-milano-fu-un-caos-pazzesco/

Museum of Modern Art. (n.d.). Inventing Abstraction, 1910–1925: Impression III (Concert) [picture]. Moma. https://www.moma.org/interactives/exhibitions/2012/inventingabstraction/?work=3

Museum of Modern Art. (n.d.). Zang Tumb Tumb: Adrianopoli Ottobre 1912: Parole in Libertà [picture]. https://www.moma.org/collection/works/31450?artist_id=3771&page=1&sov_referrer=artist

Nō̜ Na Pāknam. (1968). Sinlapatawantok Nænamsinlapasākon [Introduction to Western Art]. Bangkok: Odien Store.

Obelisk Art History. (2016, March 24). Luigi Russolo, Ugo Piatti and the Intonarumori [picture]. Arthistoryproject. https://arthistoryproject.com/artists/luigi-russolo/luigi-russolo-ugo-piatti-and-the-intonarumori/

Pattaradachpaisal, A. (2015, March 25). Arnold Schoenberg kap kān rap rū dontrī tawantok nait hāna serious music [Arnold Schoenberg and perception on Western Music as Serious Music]. Sarakadee Magazine. https://www.sarakadee.com/2015/03/25/schoenberg/

Phan čharœ̄n, N. (2021). Photčhanānukrom Sap Duriyāngkhasin. Bangkok: Thanapress.

Prather, M. & Stuckey, F. C. (1989). Gauguin a Retrospective. New York, NY: Park Lane.

Vergo, P. (2010). The Music of Painting: Music, Modernism and the Visual Arts from the Romantics to John Cage. China: Phaidon Press.

Ward, H. S. (1978). Pictorial Photography in Britain 1900 – 1920" exhibition catalogue. London: Arts Council of Great Britain in association with The Royal Photographic Society.

Weibel, P. (2019). Sound as A Medium of Art. “Sound Art Sound as A Medium of Art” exhibition catalogue. Karlsruhe: ZKM Center for Art and Media Karlsruhe.

Whitford, F. (1993). Understanding Abstract Art. Translated by Tangnamo, S. Chiang Mai: Chiang Mai University.