แนวคิดพระอดีตพุทธเจ้าในงานพุทธศิลป์ล้านนาเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย

Main Article Content

ฉลองเดช คูภานุมาต

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประวัติความเป็นมา คติความเชื่อ เกี่ยวกับแนวคิดพระอดีตพุทธเจ้าที่ปรากฏอยู่ในพุทธศาสนา ศึกษาแนวคิด สัญลักษณ์ รูปแบบทางศิลปกรรมของงานพุทธศิลป์ล้านนาที่สะท้อนแนวคิดพระอดีตพุทธเจ้า ตลอดจนการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดพระอดีตพุทธเจ้าในงานพุทธศิลป์ล้านนา นำมาเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางในการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย ผลการวิจัยพบว่าคติเรื่องพระอดีตพุทธเจ้า คือ แนวคิดหลักที่ใช้เป็นปทัสถานในการสร้างงานพุทธศิลป์นับแต่อดีต โดยชี้ให้เห็นว่าพระธรรมเป็นอกาลิโก ดำรงคงอยู่อย่างไม่จำกัดกาลเวลา บุคคลผู้มีปัญญาทุกยุคทุกสมัยสามารถค้นพบได้ด้วยตนเอง อีกทั้งการระลึกถึงพระอดีตพุทธเจ้ายังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา


 


จากการศึกษางานพุทธศิลป์ล้านนา พบว่าคติความเชื่อเรื่องพระอดีตพุทธเจ้าซึ่งมีที่มาจากพุทธศาสนาแบบเถรวาท มีเนื้อหาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และวรรณกรรมพุทธศาสนาในท้องถิ่น เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยการสื่อความหมายถึงจำนวนพระอดีตพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ 24 พระองค์ 27 พระองค์ และพระอดีตพุทธเจ้าจำนวนมากจนไม่อาจนับได้ อันมีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน โดยสะท้อนความหมายผ่านรูปทรงสัญลักษณ์ในงานพุทธศิลป์แขนงต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรม ภายในพุทธสถานล้านนาอย่างเป็นองค์รวม นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย รูปแบบศิลปะสื่อผสมและศิลปะแนวจัดวาง จำนวน 3 ชุด ตีความหมายจากสัญลักษณ์พระอดีตพุทธเจ้า เพื่อการสืบสานวัฒนธรรมวิธีคิดและความศรัทธาของชาวพุทธ ผลสัมฤทธิ์ของการสร้างสรรค์ยังทำหน้าที่เป็นสื่อศิลปะที่สะท้อนความหมายอันลึกซึ้งของหลักธรรมในพุทธศาสนา

Article Details

Section
Articles

References

1. เจตนา นาควัชระ. ศิลป์ส่องทาง. กรุงเทพฯ: คมบาง, 2546.

2. ญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน), สมเด็จพระ. 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546.

3.ผาสุก อินทราวุธ. พุทธศาสนาและประติมาณวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.

4. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.

5. ศิลป์ พีระศรี. บทความ ข้อเขียน และงานศิลปกรรมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2545.

6. ศรีศักร วัลลิโภดม. ทัศนะนอกรีต สังคม-วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2543.

7. สมชาติ มณีโชติ. จิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2529.

8. สุรพล ดำริห์กุล. ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คอมแพคพรินท์ จำกัด, 2542.

9. สุวิภา จำปาวัลย์ และ ชัปนะ ปิ่นเงิน. การศึกษาพุทธสัญลักษณ์ล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.

10. เสมอชัย พูลสุวรรณ. สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.

11. อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. พระพุทธรูปในล้านนา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ตะวันเหนือ, 2554.

12. อานันท์ กาญจนพันธุ์. การวิจัยในมิติวัฒนธรรม. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 2542.