องค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

องอาจ อินทนิเวศ

Abstract

ขมุนำดนตรีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่โบราณ แต่ด้วยความเชื่อที่ว่าเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานแล้วจะทำลายเครื่องดนตรีทิ้ง จึงทำให้การศึกษาข้อมูลเรื่องดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุที่ผ่านมามีอย่างจำกัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ใช้กระบวนการศึกษาแบบดนตรีชาติพันธุ์วิทยา การลงพื้นที่ภาคสนาม การบันทึกเสียงดนตรีเพื่อนำมาถอดเป็นโน้ต การเสวนาเพื่อสังเคราะห์ และการตรวจข้อมูลโดยชุมชน ผลการศึกษาพบว่าดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุมีวัตถุประสงค์หลักในการนำมาใช้งานเพื่อความเพลิดเพลิน ใช้ส่งสัญญาณ หรือใช้เป็นสัญลักษณ์เฉพาะตัวกันในกลุ่มเมื่อเดินทางเข้าหาของป่า แบ่งลักษณะและประเภทของดนตรีออกเป็นเครื่องดนตรีประจำกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเดี่ยวหรือรวมวงแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ โล้ง ซุ้ลร์ โทรอล์ ปี้ เกิลตอง คราบอ๊าก และการขับร้องเพลงภาษาขมุ เรียกว่า เติ้ม ปัจจุบันคนขมุไม่นิยมทำลายเครื่องดนตรีแล้ว เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ดนตรีของตนเองไว้มิให้สูญหายและได้รับความสนใจจากคนนอกชุมชนมากขึ้น จึงนำเครื่องดนตรีมาใช้แสดงได้บ่อยครั้ง สามารถช่วยสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

Article Details

Section
Articles

References

1. ดวงจำปี วุฒิสุข. “Khmu Flute” Asia Pacific Intangible Cultural Heritage (ICH). สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2561. https://www.accu.or.jp/ich/en/arts/A_LAO11.html.

2. บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. 30 ชาติในเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ศยาม, 2557.

3. สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. “ดนตรีขมุ” สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2561. https://www.thaiculture.go.th/script/test.php?pageID=1192&table_d=performance&s_type=.

4. องอาจ อินทนิเวศ. “องค์ความรู้ จิตสำนึกรักษ์ และกระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาด้านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย.” รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, กรมส่งเสริมวัฒธรรม, 2560.

สัมภาษณ์
5. จุมพล กิตติสาร, สัมภาษณ์โดย องอาจ อินทนิเวศ, มูลนิธิเมนโนไนท์ เบรเด็น ในประเทศไทย, 26 เมษายน 2559.

6. ชเลนทร กัลยาณมิตร, สัมภาษณ์โดย องอาจ อินทนิเวศ, มูลนิธิเมนโนไนท์ เบรเด็น ในประเทศไทย, 26 เมษายน2559.

7. ทองคำ บุญเจิง, สัมภาษณ์โดย องอาจ อินทนิเวศ, มูลนิธิเมนโนไนท์ เบรเด็น ในประเทศไทย, 26 เมษายน 2559.

8. วัชรี แก้วไสย, สัมภาษณ์โดย องอาจ อินทนิเวศ, มูลนิธิเมนโนไนท์ เบรเด็น ในประเทศไทย, 26 เมษายน 2559.

9. ศรี บุญเจิง, สัมภาษณ์โดย องอาจ อินทนิเวศ, มูลนิธิเมนโนไนท์ เบรเด็น ในประเทศไทย, 26 เมษายน 2559.

10. อนุชา บุปผาเจริญ, สัมภาษณ์โดย องอาจ อินทนิเวศ, มูลนิธิเมนโนไนท์ เบรเด็น ในประเทศไทย, 26 เมษายน 2559.