การตรวจสอบรูปแบบพระพุทธรูปมีไรพระมัสสุในวรรณกรรมพุทธประวัติ

Main Article Content

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี

Abstract

 


บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อตีความวรรณกรรมพุทธประวัติ 2. เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการของวรรณกรรมพุทธประวัติ และ 3. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของวรรณกรรมพุทธประวัติที่มีต่องานพุทธศิลป์ ใช้แนวคิดวรรณกรรมวิเคราะห์ ได้แก่ 1. แนวคิดที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับองค์ประกอบภายนอก และ 2. แนวคิดที่พิจารณาเฉพาะองค์ประกอบภายในวรรณกรรม เป็นแนวคิดหลักในการวิจัย โดยใช้วรรณกรรมพุทธประวัติ 8 เรื่อง ได้แก่ 1. ลลิตวิสตระ 2. สัมภารวิบาก 3. ชินมหานิทาน 4. ปฐมสมโพธิกถา 5. ประทีปแห่งอาเซีย 6. พุทธประวัติฝ่ายมหายานในทิเบต 7. พุทธประวัติ ฉบับหลักสูตร นักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี 8. คือเมฆสีขาวทางก้าวเก่าแก่  


ในประเด็นการวิเคราะห์คุณค่าวรรณกรรมพุทธประวัติที่มีต่องานพุทธศิลป์ ผู้วิจัยได้ตรวจสอบรูปแบบพระพุทธรูปมีไรพระมัสสุในวรรณกรรมพุทธประวัติ พบว่าประติมากรรมมีไรพระมัสสุประดับในซุ้มจระนำเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน หมายถึง พระพุทธเจ้า ตามเรื่องราวที่ปรากฏในวรรณกรรมพุทธประวัติชินมหานิทานและปฐมสมโพธิกถา จำนวนพระพุทธรูปทั้ง 60 องค์รอบองค์เจดีย์กู่กุด หมายถึงพระพุทธเจ้าที่มีจำนวนมากมายในจักรวาล


 

Article Details

Section
Articles
Author Biography

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี

นิสิตพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

References

1. โครงการปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น. ชินมหานิทาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, ม.ป.ป.

2. จันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. กรุงเทพฯ: ศิวพร,
2513.

3. จูฬพุทธโฆส. โสกัตตถกีมหานิทาน. กรุงเทพฯ: วัดสุทัศนเทพวราราม, 2526.

4.ชินมหานิทาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2530.

5. ตำนานพระแก้วมรกตฉบับสมบูรณ์. พระนคร: อักษรบริการ, 2504.

6. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.

7. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. หาพระหาเจ้า. กรุงเทพฯ: มติชน, 2545.

8. พุทธประวัติ. พิมพ์ครั้งที่ 53. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.

9. รัตนปัญญา, พระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา, 2554.

10. ไรท์, ไมเคิล. “ประติมากรรมสำริดจากอีสานใต้”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560.
https://www.matichon.co.th./entertainment/arts-culture/news_47419.

11. ลลิตวิสตระ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2512.

12. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ:
มหามกุฎราชิทยาลัย, 2539.

13. วันรัตน, สมเด็จพระ. สังคีติวงศ์. กรุงเทพฯ: ศิวพร, 2521.

14. วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

15. รอกฮิล, วุดวิล. พุทธประวัติฝ่ายมหายานในธิเบต. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2510.

16. ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรม
และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2540.

17. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2556.

18. สมเด็จพระสังฆราชวัดราชประดิษฐ์. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร, 2447.

19. สัมภารวิบาก. กรุงเทพฯ: ส.ธรรมภักดี, 2505.

20. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2549.

21. สุภาพรรณ ณ บางช้าง. ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณ์, 2526.
22. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง. กรุงเทพฯ: มติชน, 2549.

23. อาร์โนลด์, เซอร์ เอควิน. ประทีปแห่งทวีปอาเซีย. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา, 2542.

24. อุษา ง้วนเพียรภาค. โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,
2548.
25. ฮันท์, ติช นัท. คือเมฆสีขาวทางก้าวเก่าแก่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2549.

26. Saraya, Dhida. (SRI) DVARAVATI), Bangkok: Muang Boran, 1999.