รูปแบบการตีความเนื้อหาและกระบวนการสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย

Main Article Content

สุธิดา มาอ่อน

Abstract

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการตีความเนื้อหาและกระบวนการสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย” ที่ดำเนินการสำเร็จตามตามวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการแรก จากทั้งหมด 3 ประการ คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดมโนทัศน์ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์กับความหมายส่วนเนื้อหาผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย 2) นำเสนอรูปแบบการตีความผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย และ 3) ประเมินรูปแบบการตีความผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย ด้วยการศึกษาผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทยกรณีศึกษาของศิลปินไทย 5 ราย คือ คามิน เลิศชัยประเสริฐ ประสงค์ ลือเมือง วัชระ ประยูรคำ จักกาย ศิริบุตร และกฤช งามสม รายละ 3 ผลงาน โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เริ่มต้นจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลภาคเอกสาร เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์และสังเกตศิลปิน ศึกษาวิเคราะห์และตีความผลงาน ตามแนวคิดทฤษฏีประติมานวิทยา สัญวิทยา และทฤษฏีศิลป์ ด้วยการอธิบายความหมายผลงานตามทัศนะของผู้วิจัย จนปรากฏผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของความหมายส่วนเนื้อหาผลงานกับการถ่ายทอดมโนทัศน์ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ของศิลปินแต่ละราย ที่แตกต่างกันออกไป และผลจากการวิจัยประการแรกได้นำไปสู่การสังเคราะห์และได้มาซึ่งรูปแบบการตีความ 2 แนวทาง คือ รูปแบบการตีความผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทยสำหรับผู้ชมทั่วไป และรูปแบบการตีความผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทยเชิงลึก ที่ถูกนำเสนอผ่านการทดลองใช้โดยกลุ่มผู้ชมที่มีความชื่นชอบ และสนใจเสพผลงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย ได้เลือกใช้รูปแบบเป็นแนวทางในการตีความและอธิบายความหมายตามความเข้าใจของผู้ชมแต่ละราย

Article Details

Section
Articles

References

1. คามิน เลิศชัยประเสริฐ. “...ผิดที่...Wrong Place.” สูจิบัตรนิทรรศการ. กรุงเทพฯ: ถังคอนเท็มโพรารี่, 18 เมษายน 2553.

2. ประสงค์ ลือเมือง. “Prasong Luemuang Retrospective.” สูจิบัตรนิทรรศการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเชีย เพรส จำกัด, 2549.

3. ศิลป์พีระศรี, ศาสตราจารย์. "การวิจารณ์ศิลป์."ใน อักษรศิลป์พีระศรี 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537.

4. อิทธิพลตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2550.

5. 31 Century Museum. "31 century museum: Inner World." 31century (February 20, 2017). Accessed July 26, 2017https://31century.org/no-past-no-present-no-future-perform-without-perform.

6. Barthes, Roland. The Semiotic Challenge. Oakland, California: University of California Press, 1994.

7. Bourriaud, Nicolas. Relational Aesthetics. Dijon: Les Presse Du Reel, 2002.

8. Damisch, Hubert. Semiotics and Iconography. Lisse, Netherlands: The Peter De Ridder Press, 1975.

9. Galligan, Gregory. "Atlas Bangkok: Who's/Whose 'Thai Contemporary?'." Art in America 103, no. 5(May, 2015): 65-66.

10. Gompertz, Will. What Art You Looking At?: 150 Years of Modern Art in the Blink of an Eye. London: Penguin Books, 2012.

11. Kamhi, Michelle Marder. "Aristos." Aristos. Aristos Foundation(August, 2012). Accessed February 24, 2017.https://www.aristos.org/aris-12/contemporaryart.html.

12. Kuspit, Donald. Interview with Louise Bourgeois. New York: Vintage Books, 1988.

13. Lewitt, Sol. "Paragraphs on Conceptual Art." Artforum Special, no. 10 (June, 1967): 79.

14. Panofsky, Erwin. Studies in Iconology : Humanistic Theme in the Art of the Renaissance. Boulder: Westview Press, 1972.

15. Smith, Terry. Contemporary Art World Currents. London: Laurence King Publishing Ltd., 2011.

16. Jakkai Siributr. "Transient ShelterApril 17, 2014-May 31, 2014. " Tyler Rollins Fine Art (May, 2014). Accessed February 17, 2019. https://www.trfineart.com/exhibition/jakkai-siributr-transient-shelter/#press.