แนวทางการจัดการภาพถ่ายโบราณในประเทศไทย

Main Article Content

ศักรินทร์ สุทธิสาร

Abstract

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการภาพถ่ายโบราณในประเทศไทย ศึกษากระบวนการเก็บรักษา อนุรักษ์ และใช้งานเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า จัดแสดงและเผยแพร่ มุ่งเสนอความสำคัญของภาพถ่ายโบราณในฐานะเอกสารเพื่อการศึกษา ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์จากกลุ่มหน่วยงานที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทภาพถ่ายโบราณจำนวน 10 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการใช้งานภาพถ่ายโบราณ จำนวน  2 คน ใช้การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม


ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์ทั่วไปของการจัดเก็บภาพถ่ายโบราณในประเทศไทยได้รับการนำไปใช้งานในหลายสถานะ เช่น จดหมายเหตุ  มรดกทางวัฒนธรรม หรือสื่อบันทึกทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น มีองค์กรที่จัดเก็บภาพถ่ายได้แก่หอจดหมายเหตุทั้งรัฐและเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ผลการวิเคราะห์แนวทางในการจัดเก็บภาพถ่ายโบราณ ประกอบด้วย (1) การแสวงหารวบรวม ทำการลงทะเบียนภาพถ่าย (2) การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าภาพถ่าย (3) การทำคำอธิบายภาพถ่ายและจัดหมวดหมู่ แบ่งเป็นสถานที่ กิจกรรม บุคคล และอื่นๆ ใช้มาตรฐานในการจัดทำคำอธิบายคือ ISAD(G) และ Dublin Core metadata (4) การอนุรักษ์ภาพถ่ายจากสาเหตุภายในและภายนอก และ (5) การให้บริการ

Article Details

Section
Articles

References

1. นิตยา ชำนาญป่า. “ภาพถ่ายกับงานประวัติศาสตร์ศิลปะ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

2. วัชชิรา บูรณสิงห์ และคณะ. “ระบบคลังข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ กรณีศึกษาหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ.” รายงานวิจัย, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2553.

3. วิศปัตย์ ชัยช่วย และ ยศัสวิน บุญช่วย. “การสงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุประเภทภาพถ่ายดิจิทัล.” มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 3, ฉ. 2 (ตุลาคม 2551): 201-204.

4. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. “ดับลินคอร์เมทาดาทา.” สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560, https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/3098-dublin-core-metadata.

5. สำนักนายกรัฐมนตรี. ระบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2548 เล่ม 122, 2548.

6. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. มาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2555.

7. หลวงอนุสารสุนทร. “ภาพสตรีล้านนาในอดีต.” หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
2560. https://lib.payap.ac.th/webin/ntic/p%20living.html.

8. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “นิทรรศการรับน้อง ปี พ.ศ. 2558” หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560. https://www.memocent.chula.ac.th/exhibition/นิทรรศการรับ
น้อง-ปี2558/.

9. หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ. “ความหมาย และคุณค่าของ จดหมายเหตุ.” หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560, https://www.bia.or.th/html_th/2013-09-04-04-47-56.html.

10. Simonson, Karen Rae. “Becoming Digital: The Challenges of Archiving Digital Photographs.” Master’s thesis, The University of Manitoba, 2006. Accessed February 17, 2019. https://athena.cah.ucf.edu/devdar/items/show/151.