แนวคิดพุทธศาสนาของธรรมยุติกนิกายในจิตรกรรมฝาผนังตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาแนวคิดพุทธศาสนาในจิตรกรรมฝาผนังตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 (2) ผลที่มีต่อพุทธธรรมอันเกิดจากการปรับเปลี่ยนแนวคิดทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมในธรรมยุติกนิกาย ผลการศึกษาพบว่าพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายที่สถาปนาโดยรัชกาลที่ 4 เกิดขึ้นจากความเคลือบแคลงในความบริสุทธิ์ของสงฆ์ที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชในรัชกาลที่ 3 ระยะเริ่มต้นมีพื้นฐานมาจากวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์มอญ ต่อมาทรงให้ความสำคัญกับลังกาโดยตรงในฐานะที่เป็นต้นวงศ์อันบริสุทธิ์ของพุทธศาสนา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของพุทธศาสนาจากลังกาที่มีต่อธรรมยุติกนิกายโดยตรง การเขียนจิตรกรรมที่มีเนื้อหาจากพระวินัยและวัตรปฏิบัติของสงฆ์ก็สอดคล้องกับภาพลักษณ์การปฏิบัติอันเคร่งครัดของสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ส่วนการไม่ปรากฏภาพชาดก การลดอิทธิปาฏิหาริย์ในจิตรกรรมลงก็สอดคล้องกับโลกทัศน์สมัยใหม่โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ และพบว่าคำสอนในระดับโลกียธรรมถูกเน้นย้ำมากขึ้น รวมทั้งการอธิบายแนวคิดเรื่องกรรมให้อยู่ในกรอบแนวคิดเชิงเหตุผลที่เน้นการทำกรรมในปัจจุบันเป็นหลัก
การปฏิรูปพุทธศาสนาในสยามที่มีธรรมยุติกนิกายเป็นผู้นำ คือ การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพุทธศาสนาว่ามิใช่ภูมิปัญญาที่ล้าสมัยหรือไร้เหตุผล แต่พุทธศาสนายังเป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าในโลกสมัยใหม่ ระบบความคิดในพุทธธรรมสามารถอธิบายได้อย่างสมเหตุผลภายใต้กรอบแนวคิดของการใช้ “เหตุผล” และ “ความรู้เชิงประจักษ์” ตามแบบอย่างโลกสมัยใหม่ และสื่อสารพุทธธรรมได้โดยไม่ต้องนำเสนอผ่านจักรวาลวิทยาตามคติไตรภูมิ แต่สามารถนำเสนอสาระหลักของพุทธธรรม คือ อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ มรรค ผล และนิพพานได้โดยผ่านจักรวาลวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ นับว่าเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย
Article Details
References
2. ________. ประชุมพระราชนิพนธ์ภาษาบาลีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มหาเถรสมาคม, 2547ข.
3. ________. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2521.
4. ชาวสยามและลาวในสายตามิชชันนารีชาวอเมริกัน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2557.
5.ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฉบับหอสมุดแห่งชาติ รัชกาลที่ 3-4. พระนคร: คลังวิทยา, 2506.
6. ________. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 โดย เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2548.
7.________. แสดงกิจจานุกิจ. พระนคร: คุรุสภา, 2513.
8. ธัชชัย ยอดพิชัย. “หอพระไตรปิฎกวัดบวรนิเวศวิหารวิหาร: อาคารเล็กๆ แต่มีจิตรกรรม ประวัติคณะธรรมยุต สมัยรัชกาลที่ 3.” ศิลปวัฒนธรรม 32, ฉ.4 (กุมภาพันธ์ 2555): 120 - 133.
9. น. ณ ปากน้ำ (นามแฝงของประยูร อุลุชาฎะ). “ขรัวอินโข่ง.” เมืองโบราณ 3, ฉ.4 (กรกฎาคม-กันยายน 2520): 4-9.
10.นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ประชุมหมายรับสั่งภาค 4 ตอนที่ 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ.1186-1203. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2537.
11. นริศรานุวัตติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา, และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 22. พระนคร: คุรุสภา, 2504.
12. นิยะดา เหล่าสุนทร. ภูมิปัญญาของคนไทย: ศึกษาจากกฎหมายตราสามดวงและจิตรกรรมฝาผนัง. กรุงเทพฯ: ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย เมธีวิจัยอาวุโส สกว., 2540.
13. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. “พระราชประสงค์ในการสร้างงานศิลปกรรมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” รายงานการวิจัย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2557.
14. บรัดเลย์, วิลเลียม แอล. แปลโดย ศรีเทพ กุสุมา ณ อยุธยา, และ ศรีลักษณ์ สง่าเมือง. สยามแต่ปางก่อน: 35 ปีในบางกอกของหมอบรัดเลย์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2547.
15. เบาริง, เซอร์ จอห์น. แปลโดย อนันต์ ศรีอุดม. ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2547.
16. ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จฯ กรมพระ. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2539.
17. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517.
18. ปวเรศวริยาลงกรณ์, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พระราชประวัติ และพระราชนิพนธ์บางเรื่องในพระบาทสมเด็จพระเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505.
19. พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. “จิตรกรรมฝาผนัง: พระราชประสงค์รัชกาลที่ 4 เรื่องจริยวัตรสงฆ์.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.
20. พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. “ภาพพระพุทธเจ้ามหายานในวัดธรรมยุตที่วัดปทุมวนาราม.” ศิลปวัฒนธรรม 36, ฉ.4 (มีนาคม 2558): 24-31.
21. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557ก.
22. ________. พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557ข.
23. พิชญา สุ่มจินดา. ถอดรหัสพระจอมเกล้า. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.
24. พิริยะ ไกรฤกษ์. อารยธรรมไทยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2544.
25. พุทธทาสภิกขุ. ปริศนาธรรมไทย. พระนคร: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2511.
26. พระไพศาล วิสาโล. พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, 2546.
27. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (45 เล่ม). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
28. มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถาแปล (91 เล่ม). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2526.
29. ราชบัณฑิตยสถาน. “ไขปัญหาภาษาไทย.” จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน 21, ฉ.243 (สิงหาคม 2554): 8.
30. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน. 2556.
31. วรรณิภา ณ สงขลา. “จิตรกรรมฝาผนังบันทึกเรื่องการสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดมหาพฤฒาราม.” ศิลปากร 31, ฉ.1(กรกฎาคม-สิงหาคม 2530): 45-54.
32. วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
33. วิยะดา ทองมิตร. จิตรกรรมแบบสากลสกุลช่างขรัวอินโข่ง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและค้นคว้าศิลปวัฒนธรรมไทย, 2522.
34. วิไลรัตน์ ยังรอต, และ ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. ถอดรหัสภาพผนังพระจอมเกล้า-ขรัวอินโข่ง. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2559.
35. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์: พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2556.
36. ศิรินทร์ ใจเที่ยง. “อดีตพุทธจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 และ 4 ในกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง.” เมืองโบราณ 27, ฉ. 2(เมษายน-มิถุนายน 2544): 78-81.
37. ศรีสุพร ช่วงสกุล. “ความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์: ศึกษากรณีธรรมยุติกนิกาย (พ.ศ.2368-พ.ศ.2464).” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
38. ส. ศิวรักษ์ (นามแฝงของสุลักษณ์ ศิวรักษ์). พุทธกับไสยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา, 2538.
39. สมพงษ์ ทิมแจ่มใส. วัดมหาพฤฒาราม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2526.
40. สมศักดิ์ แตงพันธ์. การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังวัดบวรนิเวศวิหารวิหาร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร ,2551.
41. สาลิน วิรบุตร. “ดาราศาสตร์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” ใน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย. บรรณาธิการโดย กุลทรัพย์ แม่นกิจ, คุณหญิง และคณะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิวิทยาศาสตร์, 2541.
42. สายชล สัตยานุรักษ์. พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. 2325-2352). กรุงเทพฯ: มติชน, 2546.
43. สุธา ลีนะวัต. การศึกษาสัญลักษณ์ในจิตรกรรมภาพปริศนาธรรมของนิกายธรรมยุต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์, 2555.
44. สุรชัย จงจิตงาม. “การศึกษาแนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาในจิตรกรรมฝาผนังวัดบรมนิวาส.” สารนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, วิชาสัมมนาพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558.
45. ________. “แนวคิดเรื่องความเป็นจริงในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.
46. สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, ม.ล. วัดราชสิทธาราม. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, 2525.
47. สันติ เล็กสุขุม. จิตรกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 3: ความคิดเปลี่ยนการแสดงออกก็เปลี่ยนตาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.
48. เสมอชัย พูลสุวรรณ. สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.
49. หอสมุดแห่งชาติ. เอกสารหมวดจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 เลขที่ 357 เรื่อง พระราชบรมราชโองการ เรื่อง ให้ถามหมอบรัดเลว่าธรรมเนียมอเมริกาที่เรียกว่าสิวิไลยเชด ฯลฯ. (จ.ศ. ไม่ปรากฏ).
50. อัญชลี สินธุสอน. "ปริศนาธรรมพบใหม่" สมัยรัชกาลที่ 4 วัดมหาสมณาราม เพชรบุรี.” เมืองโบราณ 37, no. 2 (เมษายน-มิถุนายน 2554): 96-110.
51. อิสรา อุปถัมภ์. “จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม: การวิเคราะห์จากมุมมองใหม่.”วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.
52. Herschel, John F.W. Outline of Astronomy. London: Longman, Green, Longman, and
Roberts, 1859.
53. Titus, Harold H. Living Issues in Philosophy. Belmont: Wadsworth, 1995.
54. Ward, Hon. Telescope teachings. London: Groombridge and Sons, and Patemonster Row, 1859.