ศิลปกรรมกระจกสะท้อนวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นบนผนังวิหารวัดท่าข้าม (ชัยชนะ) อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อัศวิณีย์ หวานจริง

Abstract

 


การสร้างสรรค์ศิลปกรรมกระจกบทผนังวิหารวัดท่าข้าม (ชัยชนะ) อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกชุมชนท้องถิ่น เริ่มจากการที่ชุมชนต้องการจะบูรณะวิหารให้สวยงามด้วยงานศิลปะ การสร้างงานครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการบันทึกภาพประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นด้วยภาพศิลปกรรมกระจก โดยใช้เทคนิคการประดับกระจกสี ตัดเป็นตัวภาพแบบอุดมคติ เช่นเดียวกับภาพจิตรกรรมไทยประเพณี มีการคิดค้นพัฒนาเทคนิค วิธีการตัด และติดกระจกรูปแบบใหม่ จนเกิดเป็นงานที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ เหมาะสมกับการทำงานศิลปะในปัจจุบัน รวมทั้งได้มีการจัดอบรมชุมชน ให้เรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการสร้างสรรค์งาน เพื่อช่วยพัฒนาความรู้ความสามารด้านศิลปะ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม เกิดการเรียนรู้ สามารถช่วยกันดูแลรักษาผลงานศิลปกรรมกระจกได้ต่อไป การทำงานร่วมกับชุมชนในครั้งนี้ทำให้ผู้วิจัยได้มีโอกาสเรียนรู้และสามารถนำมาพัฒนาตนเองในการสร้างสรรค์งานศิลปะได้มากขึ้น การสร้างสรรค์งานจึงไม่ใช่เพียงแค่การสร้างชิ้นงานศิลปะ แต่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผลงานศิลปกรรมกระจกชุดที่ช่วยสร้างคุณค่าทางสุนทรียะให้กับชุมชนต่อไปในอนาคต


 

Article Details

Section
Articles
Author Biography

อัศวิณีย์ หวานจริง, ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

1. ศรัณย์ บุญประเสริฐ. คู่มือนำเที่ยว หลวงพระบาง. กรุงเทพฯ: สารคดี, 2548.

2. สน สีมาตรัง. โครงสร้างจิตรกรรมฝาผนังล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ:
ศิริวัฒนา, 2526.

3. สุรพล วิรุฬห์รักษ์. ทำอย่างไรให้งานศิลปะเป็นวิชาการ: การสร้างมาตรฐาน
วิชาการงานศิลป์
. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,
2555

4. สุวรรณพร มณีโชติ. ความรู้ทั่วไปในงานช่างศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,
2545.

5. อัศวิณีย์ หวานจริง. “การศึกษาคุณค่าทางสุนทรียะในบริบททางสังคมและ
ผลปรากฏจากสภาวะแวดล้อมของศิลปกรรมกระจกบนผนังอุโบสถ
วัดมณีจันทร์.” รายงานวิจัย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2556.