โรงมหรสพแห่งการจับจ้อง

Main Article Content

กรกฎ ใจรักษ์

Abstract

ผลงานศิลปะ “โรงมหรสพแห่งการจับจ้อง” นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับสังคมสมัยใหม่ที่ได้นำ “การจับจ้อง” มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของคนให้อยู่ในกฎระเบียบร่วมกัน ในสังคมปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่พึงพอใจที่จะดำเนินชีวิตตามระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูก “พิพากษาด้วยสายตา” เงื่อนไขสำคัญของการที่จะมีชีวิตที่ปกติสุข คือ การประพฤติตนให้เหมาะสมกับกาละและเทศะ เพราะความรู้สึกว่ากำลังถูก “จับจ้องอยู่” ส่งผลต่อการกำหนดตัวตน การแสดงอากัปกิริยาท่าทางทุกรูปแบบที่แสดงออกในพื้นที่สาธารณะล้วนแล้วแต่ไม่ได้เป็นไปอย่างอิสระเสรี  ด้วยเหตุนี้ จึงต้องการนำเสนอประเด็นดังกล่าวในรูปแบบผลงานศิลปกรรมซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะแอนิเมชั่นที่นำเสนอสารสาระประเด็น "การจับจ้อง" โดยค้นหาการทำงานร่วมกันระหว่างผลงานแอนิเมชั่นกับผู้ชม และวิธีการนำเสนอที่ผู้ชมรับรู้ได้ถึงการถูกจับจ้องด้วยตนเอง สร้างความตระหนักถึงการถูกจำกัดเสรีภาพของการแสดงออกในพื้นที่ทางสังคม


ผลงานสร้างสรรค์ครั้งนี้ได้กำหนดให้มี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แอนิเมชั่นเรื่องสั้นนำเสนอประเด็นการจับจ้อง ทำงานร่วมกันกับผลงานชุดที่ 2 เป็นศิลปะอินสตอลเลชั่นเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อผู้ชม (interactive installation art) กลวิธีของศิลปะทั้ง 2 ชุด ปลุกเร้าให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์กับผลงานแอนิเมชั่น และภาพถ่ายของผู้ชม สร้างประสบการณ์ส่วนบุคคลของการได้จับจ้องและถูกจับจ้องในพื้นที่ เป็นการสร้างพื้นที่ของการจับจ้อง ให้ผู้ชมเกิดการพิจารณา ครุ่นคิด ในประเด็นของการจับจ้องซึ่งทำให้ผู้ชมเข้าใจอำนาจ “การจับจ้อง” ในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างชัดเจน ผลงานได้สื่อสาร สะท้อนเนื้อหาตรงตามแนวคิดและวัตถุประสงค์ ส่วนการประเมินผลการรับรู้และทัศนวิจารณ์จากผู้ชม ทำให้เกิดบทสนทนาระหว่างผู้เขียนและผู้ชม โต้ตอบทรรศนะทางความคิด
เกิดมุมมองในการรับชมที่ให้อิสระ ในการรับรู้ถึงการถูกจับจ้องที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาละเทศะและเหตุปัจจัยส่วนตัวของผู้ชม การทำงานของมิติแสงสีที่ฉายภาพขึ้นใหม่ตามแต่ลักษณะของผู้ชมนั้น ถือเป็นสุนทรียะใหม่ที่มีชีวิตชีวาร่วมไปกับปฏิสัมพันธ์ของผู้ชม สามารถสะท้อนให้เห็นว่าผลงานได้ทำให้เกิดการทบทวนหรือตั้งคำถาม เกี่ยวกับ “ตัวตน” และ “ความอิสระเสรี” ในที่สาธารณะของผู้ชมได้อย่างดียิ่ง

Article Details

Section
Articles

References

1. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับ
การศึกษารัฐศาสตร์
. กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2545.

2. ณรงค์ เส็งประชา. มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2541.

3. พวงเพชร สุรัตนกวีกุล และคณะ. มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, 2541.

4. ฟูโกต์, มิแช็ล. ร่างกายใต้บงการ: ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่. แปลโดย
ทองกร โภคธรรม. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2558.

5. วิไลวรรณ ศรีสงคราม และคณะ. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: เอ็ดดูเคชั่น, 2549.

6. ศุภมณฑา สุภานันท์. พื้นที่ เวลา อัตลักษณ์ และการสร้างความหมายทาง
สังคม
. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

7. อรรณสิทธิ์ สิทธิดำรง และพิพัฒน์ พสุธารชาติ. อ่านงานศิลปะในยุคของ
การผลิตซ้ำแบบจักรกลของวอลเตอร์ เบนยามิน
. กรุงเทพฯ: วิภาษา
2558.

8. อัญชลี ชัยวรพร. มุมมองของผู้ชมภาพยนตร์: การวิจารณ์ในบริบทไทย.
กรุงเทพฯ: นาคร, 2560.

9. Brown, K. Interactive Contemporary Art. London: I.b.Tauris, 2014.

10. Brown, S. Cinema Anime: Critical Engagements with Japanese
Enimation
. New York: Palgrave Macmillan, 2006.

11. Daniel, H. “Curator introduction to Gillian wearing.” Accessed
September 18, 2014. https://www.youtube.com/watch?v
=qv02v3aOrC8.

12. Stern, N. Interactive Art and Embodiment. Exeter: Gylphi Limited,
2013.

บรรณานุกรมภาพ

13. Abonnieren für mehr. “Perfect blue.” Accessed September 7, 2014.
https://www.youtube.com/ watch?v=A44rgc2tp-U.

14. Brown, K. Interactive Contemporary Art. London: I.b.Tauris, 2014.

15. Haupt & Binder. “56th Venice Biennale 2015.” Accessed May
3, 2017. https://u-in-u.com/venice-biennale/2015/tour/
all-the-worlds-futures-3/wangechi-mutu.

16. Stern, N. (2013). Interactive Art and Embodiment. Exeter: Gylphi
Limited.

17. Withstandley, K. “Can you handle wearing Gillian?.” Accessed
September 18, 2014. https://exploringartinthecity.
wordpress.com/2012/05/24.