การออกแบบส่วนประสานผู้ใช้งานสำหรับผู้สูงอายุไทยในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พิชญา นิลรุ่งรัตนา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อติเทพ แจ้ดนาลาว คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การออกแบบส่วนประสานผู้ใช้งาน, ผู้สูงอายุ, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

          สังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้เป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ ในแง่ต่าง ๆ เป็นอย่างมากเนื่องจากสถิติทางประชากรศาสตร์ที่เห็นได้ชัดว่ามีจำนวนประชากร ที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุมากกว่าประชากรในวัยเด็กซึ่งในทุกประเทศทั่วโลกมีระยะเวลาในการนับถอยหลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระยะตั้งแต่ 10 – 25 ปี โดยในประเทศไทยเองมีการคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุในช่วงปี พ.ศ. 2568 ทั่วโลกมีวิธีการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้นด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เราต้องยอมรับว่า เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับมนุษย์แห่งศตวรรษนี้ทุกคน ศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการยึดครองของเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นมีมากมาย หนึ่งในนั้นคือ HCI (Human Computer Interaction) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสมองกล โดยในศาสตร์นี้ได้พูดถึงการออกแบบส่วนประสานผู้ใช้งาน (User Interface) และประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience) ที่เป็นทั้งสาขาในการศึกษาและสาขาอาชีพใหม่ที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นผู้ออกแบบทั้งการใช้งาน และหน้าตาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์เทคโนโลยี

          บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ สาขาออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรหัวข้อ “การพัฒนาเครื่องมือออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานระบบดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ” โดยในบทความวิจัยนี้ได้นำส่วนการค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ของผู้วิจัยในช่วงปีแรกของการวิจัย ซึ่งจากการเก็บข้อมูลทั้งจากการลงพื้นที่พบกับกลุ่มเป้าหมาย และการได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านผู้สูงอายุ จิตวิทยา การออกแบบส่วนประสาน ผู้ใช้งาน สุนทรียศาสตร์ และการพัฒนาโปรแกรม ทำให้ได้แง่คิด และประสบการณ์ในด้านสังคมผู้สูงอายุและการออกแบบเชิงเทคโนโลยีที่เข้ามาสานรับกับภาวะที่กำลังจะเกิดขึ้น

          ผลของการวิจัยฉบับนี้ เบื้องต้นได้องค์ความรู้ว่าการออกแบบส่วนประสานผู้ใช้งานสำหรับผู้สูงอายุต้องประกอบไปด้วยองค์ความรู้สามประการได้แก่ 1) การเข้าถึงและการใช้งาน 2) การออกแบบ ซึ่งได้ค้นพบเรื่องสุนทรียะตามช่วงวัยที่สามารถนำมาใช้กับการออกแบบส่วนประสานผู้ใช้งานสำหรับผู้สูงอายุได้ 3) เนื้อหาเฉพาะด้าน ที่เป็นไปตามความต้องการของผู้สูงอายุ องค์ความรู้ดังกล่าวผู้วิจัยได้กลั่นกรองเป็นมาตรฐานเฉพาะที่เอื้อต่อการเข้าถึงสื่อและอุปกรณ์ดิจิทัลของผู้สูงอายุ โดยจะนำไปสร้างเป็นเครื่องมือดิจิทัลประเภทเว็บไซต์ให้นักออกแบบและบุคคลทั่วไปได้สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้สำหรับการออกแบบส่วนประสานผู้ใช้งานสำหรับผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมได้

References

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. “การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย.” สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ปีที่ 3 ฉบับที่ 16 (สิงหาคม 2556): 2-19.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และชัยญาสิทธิ์ ศันสนะวีรกุล. “Universal Design = แนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล.” วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฉบับที่ 80, (มกราคม-มีนาคม 2558): 48-54.

ไพฑูรย์ พัชรอาภา. สถานการณ์ผู้สูงอายุกับครอบครัว ชุมชน สังคม. กรุงเทพฯ : กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2559.

ยูวัล โนอาห์ แฮรารี. 21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21. แปลโดย นำชัย ชีววิวรรธน์ และธิดา จงนิรามัยสถิต. กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป, 2562.

รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย, และอักษราภัค หลักทอง. คุณภาพชีวิตต่างวัยของผู้มีงานทำ. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559.

วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.

วิรุณ ตั้งเจริญ. สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ : อีแอนด์ไอคิว, 2546.

ศุภจี สุธรรมพันธุ์. “The Standard, The Alpha: Ep1 ล้วงกลยุทธ์ ศุภจี สุธรรมพันธุ์ นำทัพ 7,000 ชีวิตเปลี่ยนดุสิตธานี.” สัมภาษณ์โดย สุทธิชัย หยุ่น. 22 กันยายน 2562.

ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ. เจาะเทรนด์โลก 2019. กรุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ, 2561.

สำนักข่าวอิศรา. “ปี 64 13 ล้าน เข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ - เเนะรัฐเพิ่มอำนาจ อปท. ดูเเล.” https://www.isranews.org/isranews-news/77916-news-779161.html.

สำนักงาน กพ. “Digital Literacy คืออะไร.” https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp.

Apple. “Developer Apple.” https://developer.apple.com/design/.

Google, “Material Design.” https://material.io/design/.

Interactiondesign, “What is User Experience (UX) Design?.” https://www.interaction-design.org/literature/topics/ux-design.

Norman, Don. The Design of Everyday Things. New York: Basic Books, 2013.

Steele, Brent J. and Jonathan M. Acuff, eds. Theory and application of the “generation” in international relations and politics. New York: Springer, 2011.

UX planet.org, “Big Review of UI Design Trends We Start 2019.” https://uxplanet.org/review-of-ui-design-trends-we-start-2019-with-68f128151215.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย | Research Article