การออกแบบลวดลายซ้ำทางเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยมลายู สำหรับเจเนอเรชั่นวาย

ผู้แต่ง

  • สุกรี เจะปูเตะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, วัฒนธรรมไทยมลายู, ลวดลายซ้ำ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบลวดลายซ้ำทางเรขศิลป์ ที่แสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมไทยมลายู 2) เพื่อหาแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยมลายู สำหรับเจเนอเรชั่นวาย ซึ่งมีขั้นตอนวิจัยโดยศึกษาข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ เพื่อสร้างแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์เป็นแนวทางเพื่อออกแบบลวดลายซ้ำ และนำผลที่ได้ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับทำแบบสอบถามสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นวาย โดยผลวิจัยพบว่า สิ่งที่สามารถสื่อสารวัฒนธรรมไทยมลายูนั้นสามารถแบ่งตามแนวทางรากวัฒนธรรมได้ 8 หมวดหมู่ ซึ่งได้แก่ 1) อาหาร 2) เครื่องแต่งกาย 3) ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรม 4) ประเพณี 5) การละเล่น 6) ความเชื่อ พิธีกรรม 7) หัตถกรรม 8) วรรณกรรมพื้นบ้านและตำนาน ส่วนแนวทางเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยมลายู สำหรับเจเนอเรชั่นวาย พบว่า สิ่งที่สื่อสารวัฒนธรรมไทยมลายูส่วนใหญ่เป็นเรื่องของวิถีชีวิต มีความเกี่ยวข้องกับอาหารการกิน อาชีพ ประเพณีท้องถิ่น สิ่งของเครื่องใช้ การละเล่นพื้นบ้าน รวมไปถึงเรื่องเล่าขานที่เป็นอดีต และรูปทรงมีความเหมาะสมที่ใช้สื่อสารวัฒนธรรมไทยมลายู คือรูปทรงธรรมชาติ (Organic) รูปทรงเขียนมือ (Hand-Draw) รูปทรงเรขาคณิต(Geometric) และรูปทรงอุบัติเหตุ (Accidental) และมีบุคลิกภาพสีที่เหมาะสม คือ โบราณ (Classic) มีชีวิตชีวา (Dynamic) ดูสง่างาม (Elegant) และดูเป็นธรรมชาติ (Natural)

References

ภักดี ต่วนศิริ. “การออกแบบเลขนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมมุสลิมในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2556

มุกด์ตรา ทองเวส. “การออกแบบเรขศิลป์สำหรับร้านอาหารไทยประเภทต่างๆ เพื่อเจเนอเรชั่นวาย.” วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559.

สุทธาภา อมรวิวัฒน์. “Insight กลยุทธ์มัดใจผู้บริโภค Gen Y.” ข้อมูลความรู้ทั่วไป. https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/130/dzi68owq5l/8372_20141112161337.pdf.

หัฐณัฐ นาคไพจิตร. “การประยุกต์ใช้องค์ประกอบทางเรขศิลป์จากผ้าทอลายขิตเพื่อสื่อสารวัฒนธรรมอีสาน.”วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2533.

Wucius Wong. Principles of Form and Design. แปลโดย เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา. กรุงเทพมหานคร : คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย | Research Article