ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ ในวิชาชีววิทยา เรื่อง วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนสตรีพัทลุง จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2566 ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 75.63/76.09 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียน พบว่า คะแนนก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 40 และคะแนนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 70 ดังนั้น คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เปรียบเทียบผลการวัดความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 33.96 และคะแนนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 74.90 ดังนั้น คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
จรรยา โท๊ะนาบุตร. (2560). รูปแบบการเรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก https://www.kroobannok.com/83399.
จรรยาภรณ์ อุ่มออง. (2560). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เข้าถึงได้จาก http://www.edujournal.ru.ac.th/index.
จิรัญญา ไชยโย และพจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562, หน้า ) ได้ศึกษาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลับราช- ภัฏบุรีรัมย์, 11(1), 23 -39.
ธีรยุทธ แก้วดำรงชัย และอัมพร วัจนะ. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วย บทเรียนออนไลน์บน Google Sites ร่วมกับเกมวันเดอโก เรื่องระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(5), 10-24.
พัชรี เทพสุริบูรณ์, จิต นวนแก้ว และ สุมาลี เลี่ยมทอง. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 5E เสริมด้วยเทคนิค 4MAT. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 168 – 177.
แพรวนภา โสภา. (2561). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม เรื่อง ระบบ ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ภาวิณี รัตนคอนและปัทมาภรณ์ แก้วคงคา. (2564). ได้ศึกษาความคิดสร้างสรรค์จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ร่วมกับอินโฟกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13 (2), 1 – 17.
ยุพเรศ ขาวฉ่ำ. (2559). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More โดยใช้สื่อ การสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
ลดาวัลย์ แย้มครวญ และศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล. (2559). การใช้เกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับส่งเสริมทักษะ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), 33 – 41.
วรารัตน์ สุกก้อนทอง (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง วิชาชีววิทยา โดยใช้ รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สมจิต ผอมเซง. (2553). ศึกษาการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับการใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการเรียนรู้ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา. เข้าถึงได้จาก http://www.thaiedresearch.org/home/paperview/135
สิริยาพร พลเล็ก. (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อุไรวรรณ กุลีช่วย. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาและความพึงพอใจต่อการจัดการ เรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับรูปแบบการสอนสะเต็มศึกษาแบบ URAI Model. เข้าถึงได้จาก www.st.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/การศึกษา