การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยใช้ English Language Speech Assistant Application (ELSA Speak) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วิริยา ตรีกุล
ณัฐนันท์ ทองมาก
นิธิกร ธรรมขันธ์
เจตริน อาชาฤทธิ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชั่น ELSA Speak ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้แอปพลิเคชั่น ELSA Speak ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแอปพลิเคชั่น ELSA Speak ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการสื่อสารในชีวิตประจำวันร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยใช้ แอพพลิเคชั่น ELSA Speak ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ซึ่งใช้เวลาจัดกิจกรรมทั้งหมด 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้แอพพลิเคชั่น ELSA Speak ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ((x)) ̅ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบไม่อิสระ (t-test dependent sample) และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องมือตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การใช้แอปพลิเคชั่น ELSA Speak ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มีประสิทธิภาพที่ค่าเท่ากับ 80.69/81.03 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโดยใช้แอปพลิเคชั่น ELSA Speak ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ตรีกุล ว. . . ., ทองมาก ณ. ., ธรรมขันธ์ น. ., & อาชาฤทธิ์ เ. . (2024). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยใช้ English Language Speech Assistant Application (ELSA Speak) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(2), 70–84. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i2.268774
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กุสุมา ล่านุ้ย. (2533). การจัดการกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. วารสารศึกษาศาสตร์. 6 : 22.

จิตติน เพลงสันเทียะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ) สืบค้นจาก MA_นาย_จิตติน__เพลงสันเทียะ_เพลงสันเทียะ.pdf (su.ac.th)

ฉัตรชนก เฮงสุโข, กรรณิการ์ บุญขาว, นิรันดร สีหะนาม, และ วิสิทธิ์ มะณี. (2562). สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของคนไทย. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย, 7(1), 155-160.

เฉลิม ทองนวล. เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง, 2557.

ทัศนีย์ ธราพร, อารัมภ์ เอี่ยมละออ, มงคล ไชยเทียนสุดีนนท์, & เบญจวรรณ รุ่งเรืองศุภรัตน์. (2021). การ ประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning Approach) ในรายวิชาภาษา อังกฤษเพื่ออาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียน.วารสาร สุโขทัยธรรมาธิราช, 34(1), 71-87.

ธัญทิพ บุญเยี่ยม. (2565).ปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในที่ชุมชนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารมนุษย์และสังคม, 3(2), 47-58.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล (2558). เด็กยุคดิจิทัล. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ (encyclopedia of Education), 57,79-83. ประยงค์ กลั่นฤทธิ์. (2564, 25 พฤศภาคม) การสอนทักษะภาษาอังกฤษในบริบทเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 10(1), 1-18.

พรพรรณ คงสนทนา, & ดร. ปราณภา โหมดหิรัญ. (2015). ผลของการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยการใช้ กิจกรรมเกมส์ดิจิทัลที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษา. Online Journal of Education, 10(4), 625-639.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2559). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ.

วิโรจน์ สารรัตนะ (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศศิธร ขันติธรางกูร. (2551). การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,1(2): 1-19.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2561). การรู้ดิจิทัล (Digital literacy). สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2566 จาก https://goo.gl/S3WddE.

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่. สืบค้นจาก คู่มือการจัดการเรียนภาษาอังกฤษแนวใหม่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท ๒๑ เซ็นจูรี่ จำกัด.

สุชาติ เพชรเทียนชัย, ศุภวรรณ วงศ์สร้าง ทรัพย์, & ธีรศักดิ์ สร้อยคีรี. (2022). ปัญญาประดิษฐ์ในพลศึกษา เพื่อการเรียนรู้ (Artificial Intelligence in Physical Education for Learning) . วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 6(2), 47-60.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2566 จาก https://goo.gl/c9j4vL

Anchalee, K. (2024). Review of ELSA Speak. Retrieved on 16 July 2024 from https://th.elsaspeak.com/elsa-speak

Anggraini, A. (2022). Improving students’ pronunciation skills using the ELSA speak application. Journey: Journal of English Language and Pedagogy, 5(1), 135–141. https://doi.org/10.33503/journey.v5i1.1840

Bonwell, C. C., and Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. 1991 ASHE-ERIC Higher Education Reports. ERIC.

Brown H.Douglas. (1994). Teaching by principle. USA Prentice Hall Regents. Chapter4. Develop by teacher Francisco Amador Garcia.July 2008.

Darsih, E., Wihadi, M., & Hanggara, A. (2021, March). Using ELSA app in speaking classes: Students’ voices. In Proceedings of the 1st Universitas Kuningan International Conference on Social Science, Environment and Technology, UNiSET 2020, 12 December 2020, Kuningan, West Java, Indonesia.

Dhammatayatho, S., Poonkerdmarerng, Y., Nuekkratok, P., & Puphala, J. (2019). การพัฒนา ทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษของนิสิตชั้น ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 347-360.

Gilakjani, A. P. (2012, 1 February). Visual, Auditory, Kinaesthetic Learning Styles and Their Impacts on English Language Teaching. Journal of Studies in Education, 2(1), 104-113.

Harris, D. P. (1988). Testing English as a Second Language. New York: Mc Graw Hill.

Jack, R., Rodgers, & S, T. (2002). Approach and Methods in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.638OJED,Vol.10, No.4, 2015, pp.625-639Brown, D. (2003). สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 จาก https://jalt.org/pansig/2003/HTML/Brown.htm

Khatbanjong, S., & Mawan, V. (2021). เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI กับการแบ่งกลุ่มข้อมูลผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการเรียนรู้การแบ่งกลุ่ม ข้อมูล ชนิด K-mean. Journal of Education Studies, 49(2), EDUCU4902015-11.

Laksanasut, S. (2021,January-March). Communicative Language Teaching (CLT): The Paradigm Shift of Language Teaching. Office of the Education Council Journal, 18(1), 68-74.

Meng Yan Ling (2022). Use of Artificial Intelligence Application to Enhance Learning Achievement of Secondary Students with Individual Difference Skills in the English Language. Retrieved on 23 July, 2024 from www.rmutt.ac.th

Nushi, M., & Sadeghi, M. (2021, October). A Critical Review of ELSA: A Pronunciation App. Computer Assisted Language Learning Electronic Journal (CALL-EJ), 22(3), 287-302.

Pilar, R., Jorge, A., & Cristina, C. (2013). The Use of Current Mobile Learning Applications in EFL. 13th International Educational Technology Conference. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 1189-1196.

Richards, J., & Rodgers, T. (1999) Approaches and methods in language teaching (15). Cambridge University Press.

Riel, J., Lawless, K.A. & Brown, S.W. (2016). Listening to the teachers : Using weekly onlineteacher logs for ROPD to identify teachers’ persistent challenges when implementing a blended learning curriculum. Journal of Online Learning Research, 2(2),169-200.

Samad, I. S., & Ismail, I. (2020). ELSA speak application as a supporting media in enhancing students’ pronunciation skill. Majesty Journal, 2(2), 1-7.

Samad, I., & Ismail, I. (2020, 13 July). ELSA Speak Application as a Supporting Media in Enhancing Students’ Pronunciation Skill. Maspul Journal of English studies, 2(2), 2. https://doi.org/10.33487/majesty.v2i2.510

Sharma, P. & Barrett, B. (2007). Blended Learning :Using technology in and beyond the language classroom. Oxford, England : Macmillan. Sharma, P. (2010). Blended learning. ELT Journal, 64(4), 456-458.

Shea, P.(2007).Towards a conceptual framework for learning in blended environments. Blended Learning : Research Perspectives, 19-35. Needham, MA :Sloan Consortium.

Staker, H. & Horn, B. (2011). The Rise of K-12 Blended Learning. Innosight Institute.

Tawil, H. (December 2018). The Blended Learning Approach and Its Application in Language Teaching. International Journal of Language and Linguistics, 5(4), 47-53.

Vall, R. R. F. & Araya, F. G. (2022, January). Exploring the Benefits and Challenges of AI-Language Learning Tools. International Journal of Social Sciences and Humanities Invention 10(1), 7569-7576. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566, จาก (PDF) Exploring the Benefits and Challenges of AI-Language Learning Tools (researchgate.net)

Vasapon Opaswatanakul. (2020). เน้นไวยากรณ์ สอนเพื่อท่องจำมากกว่านำไปใช้ ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566, จาก https://thematter.co/social/education/english-learning-in-thailand

Wanphirun, P. and Nilsuk, P. (2013).The results of blended learning using cognitive tools to develop the critical thinking skills of graduate students. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566, จาก https://journal.oas.psu.ac.th.

Widyasari, P., & Maghfiroh, A. (2023). The Advantages of Artificial Intelligence ELSA Speak Application for Speaking English Learners in Improving Pronunciation Skills. ELTT,9(1),286-29

Wang, Y., Han, X. & Yang, J. (2015). Revisiting the blended learning literature: using a Complex Adaptive Systems Framework. Educational Technology& Society, 18(2), 380-393