ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม 2) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 275 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ปีการศึกษา 2566 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .982
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากสูงไปต่ำ คือ การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษา การสร้างวัฒนธรรมองค์กร การสร้างบรรยากาศองค์กร การสื่อสารภายในสถานศึกษา การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม วิสัยทัศน์ กลยุทธ์และเป้าหมาย และการจัดโครงสร้างองค์กร ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมตามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ครูที่มีอายุและปฏิบัติงานในขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความต้องการจำเป็นในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .001 ตามลำดับ และครูที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความต้องการจำเป็นในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในวิสัยทัศน์ พันธกิจและแผนปฏิบัติการประจำปี, กระตุ้นและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร, สร้างบรรยากาศการเรียนรู้และวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำทางวิชาการ และสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อความต้องการเพื่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/
เขมนิจ บุญสาลี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 205-219.
จักภัทสรัณย์ ไตรรัตน์ และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2563). การพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษา: โรงเรียนในสหวิทยาเขตวิภาวดี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563, 13 สิงหาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
ชัยชนะ ราชไชย. (2564). ความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียน ขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(2), 206-217.
ธนรุจ โรจน์มานะวงศ์. (2566). สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาด้านพาณิชย์นาวี. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(50), 105-119.
ธัชชัย ศิรินุมาศ. (2566). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 8(1), 617-632.
ปรีชาภัทร์ รัตน์ศิริจันทร์, นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ และสถาพร พฤฑฒิกุล. (2566) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(4), 112-127.
พันธกานต์ ดวงงา. (2565). โมเดลเชิงสาเหตุของโครงสร้างองค์กรภาวะผู้นำของผู้บริหารผ่านบรรยากาศองค์กรและทีมงานที่มีประสิทธิภาพที่ส่งผลต่อโรงเรียนนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(3), 166-177.
มาริษา พลวงศ์ษา. (2565). สภาพความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(46), 162-179.
วีระศักดิ์ โคตรทา และ อภิรดี จริยารังสีโรจน์. (2566). ความต้องการจำเป็นในภาวะผู้นำเชิง นวัตกรรมของครูโรงเรียนกฤตศิลป์วิทยา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(4), 687-706.
สุริศา ริมคีรี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 –2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). SDGs. สืบค้นจาก https://sdgs.nesdc.go.th/
Giles Sunnie. (2018). How VUCA Is Reshaping The Business Environment, And What It Means For Innovation [Forbes]. Retrieved on 6 March 2023, Retrieved from https://www.forbes.com