ความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

Main Article Content

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน
กิตติธัช คงชะวัน
กิตติรัตน์ เกษตรสุนทร
วศินี ทาสุวรรณ
ศุภธิดา จุลสิทธิ์

บทคัดย่อ

       การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเลือกอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาและเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบระดับความคาดหวังในการเลือกประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ประชากรในการวิจัยครั้ง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่กำลังศึกษาปีการศึกษา 2566 จำนวน 164 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติต่างๆ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test, One – Way ANOVA
       ผลการวิจัยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีความต้องการเลือกประกอบอาชีพครู/บุคลากรในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน รองลงมาผู้ตัดสินกีฬา/ผู้จัดการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนกีฬา นักกกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมสุขภาพ นักสรีรวิทยาการออกกำลังกาย ตามลำดับ และจากการศึกษาความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา พบว่า ระดับความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยผลทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ และ ชั้นปีการศึกษา ต่างกัน มีความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประเภทการรับเข้า เกรดเฉลี่ยสะสม เงินเดือนที่คาดหวัง ต่างกัน มีความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
ขัตติยะมาน ว. ., คงชะวัน ก. ., เกษตรสุนทร ก. ., ทาสุวรรณ ว. ., & จุลสิทธิ์ ศ. . (2024). ความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 169–183. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.266033
บท
บทความวิจัย

References

ชูศักดิ์ เกื้อกูล. (2530). วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจกับรายได้ต่อบุคคลรายจังหวัดของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 23(1) : 25 – 54.

ณิศวรา จันทร์เพ็ชร. (2560). ความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิชาการ ปขมท, 6(2) : 88 – 98.

ธนรัฐ จันทะลุน. (2554). ความคาดหวังในการประกอบอาชีพของนักศึกษาหลักสูตรพัฒนาการเกษตรและนิเทศศาสตร์เกษตรสาขาวิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ปัญหาพิเศษ สาขาวิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ปิยฉัตร พจน์กระจ่าง. (2543). การศึกษาความพึงพอใจในการท างานของพนักงานปฏิบัติการในอุตสาหกรรมเจียระไนเพชร เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาการจัดการอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. (2558). ความหมายของครู. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2566, จาก https://sites.google.com/site/krutubtib/khru/khwam-hmaykhxng-kha-wa-khru

พัชรี มหาลาภ. 2554. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับความคาดหวัง. [Online]. Available: http://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Expectancy_Theory.htm (สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566)

ยนต์ ชุ่มจิต. (2553). ความเป็นครู(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.