การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 2) ประเมินการสร้างนวัตกรรม 3).ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 แผนวิทยาศาสตร์ –คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินนวัตกรรม 3) แบบประเมินทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 4) แบบสอบถามพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นระบุปัญหา 2) ขั้นศึกษาหาความรู้ 3) สร้างแบบจำลอง 4) ขั้นตอนการดำเนินงาน 5) ขั้นปรับปรุงและแก้ไขแบบจำลอง และ 6) ขั้นขยายผล และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.75/80.10 2) ผลการประเมินการสร้างสรรค์นวัตกรรม พบว่า นวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอยู่ในระดับดีมาก ( = 2.65 , S.D = 0.49) และทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับดีมาก ( = 2.62 , S.D. = 0.48) และ3) ผลการศึกษาความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.10 , S.D. = 0.80)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project- Based Learning: PBL). สสวท, 188, 14-17
พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และ ราเชน มีศรี. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การเรียนการสอนแบบ บูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนา แบบจำลองทางความคิด เรื่องโครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติแบบจำลองของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2558). กระบวนทัศน์การโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
วิชัย วงษ์ใหญ่และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรม หลักสูตรและการเรียนรู้
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน: กระบวนทัศน์ การพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา.
Anthony, S. D. (2012). The little black book of innovation: how it works, how to do it. Boston Mass : Harvard Business Review Press
Bucley, B.C., Gobert, J. D., Kindfield, A.C.H., Horwitz, P., Tinker, R.F., Gerlits, B., Wilensky, U., Dede, C., & Willett, J. (2004) Model-based teaching and learning with biologic. Journal of Science Education and Technology, 13(1), 23-41.
Gilbert, J. K., Bouter, C. J., and Eimer, R. (2000). Positioning models in science education and design and technology education. Developing Models in Science Education, 3-18.
Hargis, J. (2005). Collaboration, Community and Project-Based Learning – Does lt Still Work Online. Instructional Media, 3(2).
Jacobs, H. H. (2010). Curriculum 21 : Essential Education for a Changing World. Alexandria. Va.: ASCD.
Kenyon, L., Schwarz, C., & Hug, B. (2008). The benefits of scientific modeling. Science and Children, 41-44.
Khan, K. (2007). Model-Based inquiries in chemistry. Science Education, 91, 877-905.
Louca, L. T., & Zacharia, Z. C. (2012). Modeling-based learning in science education: cognitive, metacognitive, social, material and epistemological contributions. Educational review, 6(4), 471-492.
Michael, M. G. and Robert, B. M. (2005). Project-Based Learning in a Middle School: Tracing Abilities through the Artifacts of Learning. Technology in Education. 31, 65-98
Rea-Ramirez, M. A., Clement, J., & Núnez-Oviedo, M. C. (2008). An Instructional Model Derived from Model Construction and Criticism Theory. Springer Science, 2, 23-43.