การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของคุณลักษณะนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ

Main Article Content

วรากร วารี

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพคุณลักษณะด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญา และ 3) นำเสนอโมเดลรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา ตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 164 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .81 ค่าความเที่ยงตรงรายข้อ .67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ó) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA)
       ผลการวิจัยพบว่า
       1. ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้เป็น 9 องค์ประกอบ 24 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจำแนกนักเรียน จิตวิทยา การแก้ปัญหา การออกแบบกิจกรรม การพัฒนาสุขภาพ การสื่อสาร และการปรับตัวและยอมรับ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 7.35, 6.58, 6.44, 5.39, 8.82, 8.59, 6.51, 6.41 และ 5.07 ตามลำดับ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนรวมทั้งสิ้นร้อยละ 61.213
     2. ผลการวิเคราะห์สามารถนำเสนอเป็นโมเดล “รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษาสาขาวิชา พลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ (4K5A)” จำแนกเป็นสภาพคุณลักษณะด้านความรู้ 4 องค์ประกอบ และสภาพคุณลักษณะด้านทักษะทางปัญญา 5 องค์ประกอบ

Article Details

How to Cite
วารี ว. . (2024). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของคุณลักษณะนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 137–151. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.265274
บท
บทความวิจัย

References

ชนกพร จำนวน, ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ และสมโภชน์ อเนกสุข. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี, ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 19(1), 35-49.

ดุสิดา ทินมาลา. (2561). คุณลักษณะบัณฑิตวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษกับนโยบายการศึกษาไทย, วารสารราชพฤกษ์. 16(1), 1-14.

นวรัตน์ หัสดี. (2559). การสอนพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ, วารสารครุศาสตร์. 44(2), 259-269.

ปนัดดา หัสปราบ. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ (5 ปี). หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. ยะลา: คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา.

อรรถไกร พันธุ์ภักดี. (2559). การเปรียบเทียบผลการใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ของแบบวัดทุนทางสังคม ระหว่างการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยัน, วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 11(2), 46-61.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Joreskog, K. G., and Sorbom, D. (1996). LISREL B user’s reference guide. Chicago, IL: Scientific Software International.

Kaiser, H. F. (1974). An Index of Factorial Simplicity, Psychometrika. 39(1), 31-36.

Peter, W. D., and Wright, E. (2004). The individuals with disabilities education improvement act of 2004: Overview, explanation and comparison of IDEA 2004 & IDEA 97. Retrieved January 20, 2022, from http://wrightslaw.com/idea/idea.2004.all.pdf.