สมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย

Main Article Content

นาคิน คำศรี
ประวิทย์ ทองไชย
รังสฤษฏ์ จำเริญ
ไพโรจน์ สว่างไพร

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทยขั้นตอนที่ 1 ผลของการศึกษาแนวคิดทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องศึกษากับสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำข้อมูลจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย ขั้นตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย ขั้นตอนที่ 3 ผลของการนำเสนอความเป็นไปได้ของสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย และสรุปผลการวิจัยโดยจัดประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะ โดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ (Modified Delphi Technique) ด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน จำนวน 2 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และโดยจัดประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิในรูปแบบสนทนากลุ่ม (Focus group) จำนวน 8 คน 
       ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย มีจำนวน 9 สมรรถนะ 36 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) ความรู้และการทำงานแบบมืออาชีพ (2) การทำงานร่วมกับผู้อื่น (3) จริยธรรมและจรรยาบรรณครูมวยไทย (4) การทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย (5) การพัฒนาตนเอง (6) การจัดการเรียนรู้ (7) ภาวะผู้นำครูมวยไทย (8) ความสัมพันธ์ความร่วมมือและความรับผิดชอบต่อสังคม (9) การพัฒนานักมวย

Article Details

How to Cite
คำศรี น. ., ทองไชย ป., จำเริญ ร. ., & สว่างไพร ไ. . (2024). สมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 184–195. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.264718
บท
บทความวิจัย

References

จุรีรัตน์ บุญทอง และต้องลักษณ์ บุญธรรม (2561) .ความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี1 .วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 38 (3) : 15-34.

ชรอยวรรณ ประเสริฐผล, อนุชา กอนพ่วง, วิทยา จันทร์ศิลา, และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2556). รูปแบบการ พัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ฉบับพิเศษ), ปีที่ 15(5), 43-53.

ชาย โพธิสิตา.(2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ : คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ณัฐติกา หอมประกอบและคณะ(2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคใต้ตอนบน.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ปีที่ 11 (1),105-111

นาคิน คำศรี (2562). มาตรฐานและรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันสอนมวยไทย, มหาวิทยาลัยบูรพา

นงลักษณ์ พิมพ์ศรี. (2559). การพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมิน สมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครู. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ประมา ศาสตระรุจิ. (2550). การพัฒนาเกณฑ์สมรรถนะในการประเมนผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารศูนย์ เทคโนโลยีทางการศึกษาสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

ภาณุพงษ์ จำปา และ ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์. (2554) การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอลของกรมพลศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:ม.ป.ท.

วินัย พูลศรี. (2555). มวยไทย: การจัดการมรดกภูมิปัญญาของชาติไทยสู่รูปแบบธุรกิจสากล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สนธยา สีละมาด. (2551). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ ปิยพงศ์ธนัชต. (2564). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดสมรรถนะครูมืออาชีพในยุค 4.0 สำหรับ นักศึกษาครู. ม.ป.ท.

อนันต์ เมฆสวรรค์. (2559). การพัฒนากลยุทธการนำนโยบายกีฬามวยไทยสู่การปฏิบัติในองค์กรสังกัดการกีฬาแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (มวยไทยศึกษา).วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cheng, C. F. (1993). Competency assessment in sport management for the republic of China (Taiwan). Dissertation Abstract International, 4, 151.

Macmillan,T.T. (1971). “The delphi techniques”. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. California: Monterey.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for "intelligence." American Psychologist, 28(1), 1–14.