การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3. เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) เทศบาลนครสงขลา ปีการศึกษา 2564 รวมจำนวน 392 คน ซึ่งได้จากตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้จำนวน 4 ฉบับ คือ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมิน แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย ด้านการทำงานเป็นทีม 6 ตัวชี้วัด ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 7 ตัวชี้วัด และด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 7 ตัวชี้วัด ซึ่งมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งหมด
2. ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะครูที่มากที่สุดในแต่ละด้าน มีดังนี้ ด้านการทำงานเป็นทีม คือ การมีเป้าหมายเดียวกัน ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน คือ การจัดเก็บความรู้ และด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ คือ ระยะที่ 3 ส่งมอบนวัตกรรม
3. ผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ พบว่า ครูมีสมรรถนะหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสมรรถนะครูด้านการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ พบว่าสูงกว่าร้อยละ 80 ทุกด้าน และความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรม ด้านการทำงานเป็นทีมและด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับสิงสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ฉันทนา จันทร์บรรจง. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานบริหารและจัดการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ฐิตารีย์ สุขบุตร, และสิวะกรณ์ กฤษณสุวรรณ. (2563). “การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาอำนาจเจริญ,” วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20(3), 71-81.
เทิดศักดิ์ ชุมทศสุวรรณ. (2559). “แนวคิดทุนมนุษย์ : ทรรศนะจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ร่วมสมัยและพุทธ ปรัชญา,” วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1(1),21.
ธนานันต์ ดียิ่ง. (2556). โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวัด และประเมินผลในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์. (2564). การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยานี จิตร์เจริญ. (2557). การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมครูด้วยเครือข่ายครูและแนวคิดการออกแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2554). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : เอสแอนด์ จี กราฟฟิค.
ลำเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเมืองตราดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2551). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
สำนักงาน ก.พ.. (2559). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ..
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2549). คู่มือการสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. เข้าถึงจาก http://www.obec.go.th/
สัมมนา สีหมุ่ย. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Ipe, M. (2003). “Knowledge sharing in orgaiations : Aconcetual framework,” Human Resource Development Review. 2(4), 337-359.