การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ทีมเป็นฐาน ในรายวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะเบื้องต้น

Main Article Content

จริยภัทร รัตโณภาส

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนออนไลน์โดยใช้ทีมเป็นฐาน (online TBL) ใน รายวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะเบื้องต้น และศึกษาจุดแข็ง-ปัญหาของ online TBL เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากประชากรผู้เรียน 70 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและแบบจำลองถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละการศึกษาเนื้อหาล่วงหน้ามีผลต่อคะแนนรายบุคคล (iRAT) คะแนนปลายภาค คะแนนรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 .05 และ .05 ตามลำดับ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก เกรดเฉลี่ยสะสมมีผลต่อ iRAT คะแนนปลายภาค คะแนนรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ในทุกๆ ตัวแปรตาม ความเร็วอินเตอร์เน็ตมีผลต่อ iRAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ ความเหมาะสมของเนื้อหาที่ศึกษาล่วงหน้ามีผลต่อคะแนนปลายภาคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .1 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ จุดเด่นของ online TBL คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวินัย ได้ศึกษาเนื้อหาหลายครั้ง ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำ การสื่อสาร สำหรับปัญหา พบว่า ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในการศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าทำให้เมื่อได้รับมอบหมายงานจากหลายวิชาผู้เรียนจึงไม่มีเวลาที่จะศึกษาเนื้อหาได้เต็มที่ และเวลาในชั้นเรียน 1.20 ชั่วโมง บางครั้งไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมให้ครบตามขั้นตอน TBL

Article Details

How to Cite
รัตโณภาส จ. (2024). การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ทีมเป็นฐาน ในรายวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะเบื้องต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 15–29. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.263869
บท
บทความวิจัย

References

Clark, C.R., & Mayer, E.R. (2003). e-Learning and the science of instruction. San Francisco: John Wiley and Son.

Holmsten S. Seidel. 2024. Team-Based Learning in the Political Science Classroom: Comparing In-Person and Online Environments. Journal of Political Science Education, 20(1), 119-132.

Lee, Kyung Eun. 2018. Effects of Team-Based Learning on the Core Competencies of Nursing Students: A Quasi-Experimental Study. Journal of Nursing Research 26(2), 88-96.

Michele C. Clark and Laura C. Merrick and Jennifer L. Styron. (2021). Orientation principles for online team-based learning course. New Directions for Teaching and Learning, 11-23

Michaelsen, Larry K., Knight, Arletta Bauman, Fink, L. Dee. (2002). Team-based Learning. Retrieved from https://viewer.ebscohost.com

ข่าน, บาดรู เอช. (2560). การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง: รายการตรวจสอบ. แปลจาก E-learning QUICK Checklist. แปลโดย โอภาส เกาไศยาภรณ์ และคณะ. ค้นเมื่อ เมษายน 2564 จาก http://www.edit.psu.ac.th/book/e-learning%20book-AW-edit%20(final).pdf

จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2564). “รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน ปัญหาเป็นฐาน และโครงงานเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา”, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 9(2), 778-792.

ทนันยา คำคุ้ม. (2563). “ผลการใช้กระบวนการการเรียนการสอนแบบ Team Based Learning ในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับครู สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี”, วารสารครุพิบูล, 7(1), 37-47.

ธีระชล สาตสิน และศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. (2563). “ถอดบทเรียนการสอนออนไลน์: ความท้าทายสำหรับอาจารย์ในสถานการณ์โรคโควิด 19”, วารสารพยาบาลทหารบก, 22(1), 1-9.

รัชดากร พลภักดี. (2563). “การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19”, วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(1), 1-5.

ศศิธร ชิดนายี. (2660). “ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้และการเรียนแบบทีมต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล”, วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี”, 33(1), 1-11

ศศิธร ชิดนายี. (2661). “การเรียนแบบทีม (Team-based Learning): จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ”, วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 12(3), 1-9.

สุดเฉลิม ศัสตราพฤษ์. (2661). “การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐานเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21”, วารสารครุศาสตร์สาร, 12(2), 197-208. สุ

ธิดา สัมฤทธิ์. (2661). “การเรียนแบบใช้ทีมเป็นฐานในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต”, วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 41(2), 135-142.

อรวรรณ เกษสังข์. (2564). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดเลย”, วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 13(37), 241-248.

อรุณี สุวรรณะชฏ และคณะ. (2562). “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐานคณะแพทยศาสตร์”, สุทธิปริทัศน์, 33(108), 198-209.