การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย “วิถีชีวิต วัฒนธรรมและ ประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ

Main Article Content

นพเก้า ณ พัทลุง

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย“วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย“วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ รูปแบบและเนื้อหาที่ใช้สร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ เป็นบันเทิงคดีมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีภาคใต้ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ปีพุทธศักราช 2565-2566 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบประเมินความเหมาะสมของหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย“วิถีชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ  สถิติที่ใช้ ได้แค่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยในส่วนนี้ทำให้ได้หนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย“วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ จำนวน  1 เล่ม ประกอบด้วย 10 บท ผลการประเมินของหนังสือ  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ณ พัทลุง น. (2024). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย “วิถีชีวิต วัฒนธรรมและ ประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 130–136. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.263457
บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ใบกาซูยี. 2545. เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

จุฑาสรณ์ นนทะเสน. 2562. การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด Namfon’s Story เพื่อพัฒนาทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ยะลา : โรงเรียนเทศบาล ๖ (วัดเมืองยะลา).

ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน, 2557. จิตวิทยาการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พีรพล เพื่อตนเอง. 2562. การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด โครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้าง การอ่านการเขียนคำสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ลำปาง : โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านหล่าย).

ราชบัณฑิตยสถาน. 2552. อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

วรรษมล ศุภคุณ. 2564. การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. จันทบุรี : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.