ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมของพยาบาล ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมของพยาบาล ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรม และ (2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมของพยาบาลที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวกับพยาบาลที่ได้รับคำแนะนำตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 2561 ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวน 20 คน ที่มีคะแนนความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมเรียงจากน้อยไปหามาก แล้วสุ่มตัวอย่างด้วยการจับฉลาก เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมของพยาบาล กลุ่มควบคุมได้รับการให้คำแนะนำตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมของพยาบาล และ (2) แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมของพยาบาล ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ มัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) พยาบาลที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว มีความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) พยาบาลที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีคะแนนความฉลาดรู้เรื่องนวัตกรรมสูงกว่าพยาบาลที่ได้รับคำแนะนำตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
นิตยา ถนอมศักดิ์ศรี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรมในองค์กรการพยาบาล ตามการรับรู้ของหัวหน้างานการพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) . นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
โพยม จันทร์น้อย. (2560). การศึกษา 4.0. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้น 12 มีนาคม 2560, จาก http://www.manager.co.th/Daily/
พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. วารสาร veridian E journal (สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์และศิลปะ). 11(2), 2363.
สุริยา ฟองเกิด. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). อุตรดิตถ์ : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.
สมร ทองดี และปราณี รามสูตร. (2545). แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธนิตศักดิ์ ลิ้มสุวรรณภัทร. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัยเรือนจำกลางบางขวางจังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลตำรวจ (สังคมศาสตร์). 9(1), 128-137.
สว่างจิตต์ กาญจนะโกมล. (2564). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางสุขภาพของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก(สังคมศาสตร์). 22(1), 432-441.