ผลการนิเทศทางไกลผ่านสื่อสังคมที่มีต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูก่อน และหลังได้รับการนิเทศแบบทางไกลผ่านสื่อสังคม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลังได้รับการนิเทศแบบทางไกลฝ่านสื่อสังคมกับเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1)ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูหลังได้รับการนิเทศแบบทางไกลผ่านสื่อสังคมสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ได้รับการนิเทศแบบทางไกลผ่านสื่อสังคมสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
ชาญชัย อาจิณสมาจาร. (2554). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์.
ชาญชัย อาจิณสมาจาร. (2547). การนิเทศการสอนแผนใหม่. กรุงเทพฯ : โฟร์เพช.
ทรงยุทธ ต้นวัน และรัชตาพร บุญกอง. (2564). การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Google Classroom ในสถานการณ์ โควิด-19 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(2) 1-9.
ธนวรรณ เจริญนาน และคณะ. (2562).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Google Classroom เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยไมโครซอฟท์เพาเวอร์พ้อย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสาร ศึกษาศาสตร์ (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย), 7(1), 381-396.
ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2545). การนิเทศการศึกษาทฤษฏีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหาร คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน: Supervision of Instruction. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตนชนก รัตนภูมิ.(2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 21(2). 49-67.
สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.
สามารถ ทิมนาค. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการ จัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
สำนักงานเขตพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. (2564). การเตรียมความพร้อมการเปิดเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาจั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
Cogan, M. (1973). Clinical Supervision. Boston: Houghton-Mifflin.
Glickman, Carl D., Gordon, Stephen P., & Ross-Gordon, Jovita M. (1995). Supervision and Instructional Leadership: A Development Approach. 3rd ed. Massachusetts: Allyn and Bacon, Inc.