ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนโดยกลวิธีการโต้แย้งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เพียงปรางค์ แสงนวล
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนโดยกลวิธีการโต้แย้ง (2) เปรียบเทียบสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน 
         กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จังหวัดสงขลา จำนวน 19 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนโดยกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวน 5 แผน รวม 18 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ (3) แบบวัดสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูล และการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย            
         ผลวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนโดยกลวิธีการโต้แย้งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุนันท์ พาภักดี และสุมาลี ชูกำแพง. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูล และประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 248-260. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/247532

จิรารัตน์ แสงศร, สุรีย์พร สว่างเมฆ, และปราณี นางงาม. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 14-26. สืบค้นจาก http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.42

จิรารัตน์ แสงศร. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พรรณทิวา อินทญาติ. (2564). ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบมีการโต้แย้ง. วารสารวิชาการบัณฑิตและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 47-58. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/247989

พาอีหม๊ะ เจะสา. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะแบบมีการโต้แย้งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา การคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. สืบค้นจาก http://kb.psu.ac.th:8080/psukb/bitstream/2016/12159/1/TC1544.pdf

โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์. (2564). แผนพัฒนาการจัดการศึกษา 2564 – 2567. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565 จากhttp://www.chanachanu.ac.th/datashow_69586

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ค่าสถิติพื้นฐานระดับจังหวัด ของผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามสาระการเรียนรู้. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2565 จาก https://catalog.niets.or.th/dataset/it-16-26/resource/6f2e7227-3893-4e1f-988e-4187253e0b2a

Amineh, R. J., & Asl, H. D. (2015). Review of Constructivism and Social Constructivism. Journal of Social Sciences, Literature and Languages, 1(1), 9-16. Retrieved from https://www.academia.edu/download/51548785/construtivisim_and_social_C.pdf

OECD. (2014). PISA 2012 Results in Focus What 15-year-olds know and what they can do with what they know. Retrieved from https://doi.org/10.1787/19963777

OECD. (2018). PISA 2015 PISA Results in Focus. Retrieved from https://doi.org/10.1787/22260919

OECD. (2019). PISA 2018 Results What students know and can do volume I. Retrieved from https://doi.org/10.1787/19963777

Sampson, V. (2014). Argument-driven inquiry in biology: Lab investigations for grades 9-12. United States: NSTA Press.

Sampson, V., Grooms, J., & Walker, J. (2010). Argument-Driven Inquiry as a way to help students learn how to participate in scientific argumentation and craft written arguments: An exploratory study. Science Education, 95(2), 217-257. Retrieved from https://doi.org/10.1002/sce.20421

Tsai, C. Y. (2015). Improving Students’ PISA Scientific Competencies Through Online Argumentation. International Journal of Science Education, 37(2), 321-339. Retrieved from https://doi.org/10.1080/09500693.2014.987712

Walker, J., Sampson, V., Grooms, J., & Zimmerman, C. (2012). Argument-Driven Inquiry in undergraduate chemistry labs: The impact on students’ conceptual understanding, argument skills, and attitudes toward science. Journal of College Science Teaching, 41(4), 82-89. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/259041844_Argument-Driven_Inquiry_in_undergraduate_chemistry_labs_The_impact_on_students'_conceptual_understanding_argument_skills_and_attitudes_toward_science

Walker, P. J., & Sampson, V. (2013). Learning to Argue and Arguing to Learn: Argument-Driven Inquiry as a Way to Help Undergraduate Chemistry Students Learn How to Construct Arguments and Engage in Argumentation During a Laboratory Course. Journal of Research in Science Teaching, 50(5), 561-596. Retrieved from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/tea.21082