ความต้องการรูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (WiL) หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Main Article Content

ปฤฐฏาง จันทร์บุญเรือง
พิชญา ขุนศรี
พรหมพงษ์ มหพรพงษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบและความต้องการแนวทางการจัดการศึกษา
เชิงบูรณาการกับการทํางาน (WiL) หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ใช้เทคนิควิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 473 คน ทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ปกครองนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 473 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูวิชาการและครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 46 คน อาจารย์ ผู้ประกอบอาชีพด้านสื่อ องค์กรสื่อ / สถานประกอบการ ของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ศิษย์เก่า และนักศึกษา จำนวน 100 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 100 คน ทำการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและเชิงปริมาณ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ความต้องการรูปแบบการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อจะเห็นได้ว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครองมีความต้องการรูปแบบสอดคล้องกัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนครูวิชาการ หรือครูแนะแนว /ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความต้องการรูปแบบที่มีความแตกต่าง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพสื่อ บัณฑิต อาจารย์ และนักศึกษา ต้องการรูปแบบการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน (WIL) เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ตัวเอง ได้ฝึกประสบการณ์เร็วขึ้นมากขึ้นจึงมีประสบการณ์มากกว่าคนอื่น ๆ และต้องการแนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน (WiL) ที่เริ่มตั้งแต่ เตรียมการก่อนจัดการเรียนรู้ ระหว่างการจัดการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรณานุกรม

เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน. (2561). คู่มือการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน

(ฉบับสมบูรณ์). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.). กรุงเทพมหานคร.

ดำรง พุฒตาล. (2561). สื่อเปลี่ยน “เด็กนิเทศฯ” ต้องปรับ. (23 พฤษภาคม 2562).

เข้าถึงได้จาก https://workpointnews.com.

พงศ์รัชต์ธวัช วิวังสู และคณะ. (2560). แนวทางจัดการศึกษาเชิงบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน

(will) สำหรับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560 : 1 - 2.

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. วารสารวิชาการ

Veridian E-Journal ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) : 2363.

มานินทร์ เจริญลาภ. (2560). สร้างเด็กนิเทศฯ สายพันธ์ใหม่ เรียนรู้ 360 องศา สู่มืออาชีพ

ยุคดิจิทัล. (1 มิถุนายน 2562). เข้าถึงได้จาก https://www.spu.ac.th.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2561). นิเทศศาสตร์คณะในฝัน หรือหลักสูตรตกงาน. คณะนิเทศศาสตร์

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558. กระทรวงศึกษาธิการ : กรุงเทพมหานคร.

สิริลักษณ์ เล่า. (2561). วิกฤติสื่อ คนข่าวเสี่ยงตกงาน ยกเครื่องหลักสูตร “เด็กนิเทศ”

ต้องปรับตัว. (25 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงได้จาก https://workpointnews.com.

อลงกต ยะไวทย์และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการเรียนกับการทำงานแบบต่อเนื่องตลอดหลักสูตรในสาขาวิชาการจัดการระดับปริญญาตรีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ในเขตจังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Denise Jackson. (2013). Employability Skill Development in Work-Integrated Learning : Barriers and Best Practice. Article (PDF Available) in Higher Education Research and Development, 32 (5) : 776 -790.

Kramer, M. and Usher, A. (2011). Work-Integrated Learning and Career-Ready

Students : Examining the Evidence Toronto : Higher Education Strategy Associates.

Martin, A. and Hughes, H., (2009). How to Make the Most of Work Integrated Learning : A Guide for Students, Lecturers & Supervisors.Published by : Massey University, Private Bag 11222

Palmers ton North 5301 New Zealand.

Nottingham Trent University. (2015). LLB (Hons) Law (Sandwich). (June 25, 2019).

Accessible from http://www.ntu.ac.uk.