การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุควิถีใหม่ (New Normal) โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

ศิริวรรณ มาลยารมย์
นพดล นิ่มสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ และ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุควิถีใหม่ของโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก กลุ่มตัวอย่างผู้ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก การวิจัยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้บริหาร ครูและนักเรียน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้บริหารและครู ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ใช้การวิจัยและพัฒนา (R&D) ตามวงจร PAOR สัปดาห์ละ 1 รอบ จำนวน 4 รอบ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุควิถีใหม่แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า


  1. 1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ยุควิถีใหม่สภาพการจัดการเรียนรู้ พบว่า โรงเรียนตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ติดกับประเทศมาเลเซีย จึงมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดภาคเรียนในรูปแบบ On site ได้ ในช่วงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จึงจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Online On demand และ On hand ส่วนปัญหาในการบริหารจัดการเรียนรู้ พบว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา จึงเกิดปัญหาการบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบเนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้าสถานการณ์และเกิดปัญหาในการจัดการเรียนรู้

  2. 2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุควิถีใหม่โดยพัฒนามาจากกระบวนการบริหารสถานศึกษา จึงใช้รูปแบบ BSK Model มาพัฒนาเป็นรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนของโรงเรียน
    บ้านสุไหงโก-ลก มีดังนี้ B: Brainstorm (ระดมความคิด) S: Select content (เลือกเนื้อหา) K: Keep going (ดำเนินการ)

  3. 3. ผลการประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุควิถีใหม่โดยการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ยุควิถีใหม่พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
    ( = 4.53, S.D. = .40)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรณานุกรม

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 19(2).

A1 - A6.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2546). คัมภีร์ระบบสารสนเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เคทีพี แอนด์ คอนซัลท์.

ณัทชลิดา บุตรดวีงษ์. (2561). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. 7(1), 242-249.

พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2564, 26 มิถุนายน).

ราชกิจจานุเษกษา). เล่ม 138 ตอนพิเศษ 140 ง. หน้า 13.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2564. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิมล มธุรส. (2563). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสาร

รัชตภาคย์. 15(40), 33-42.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล(School Management in Digital Era).

https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir

Collins, J. W. & O’Brien, N. P. (2011). The Greenwood dictionary of education.

(2nd ed). Greenwood.

Turban, E. et. al. (2018). Information Technology for Management On-Demand Strategies for Performance, Growth and Sustainability. (11st ed). Wiley

Schwalbe, K. (2016). Information Technology Project Management. Cenage Learning.