การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วราลี ถนอมชาติ
ญาณิศา บุญพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัด  การเรียนรู้โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัย จำนวน 38 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติร้อยละ (%) การหาค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
         1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีทั้งหมด 4 ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) หนูน้อยนักคิด  2) หนูน้อยนักวางแผน 3) หนูน้อยนักเดินทาง และ 4) หนูน้อยนักออกแบบ แต่ละชุดกิจกรรมประกอบด้วย  ชื่อกิจกรรม คำชี้แจง จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้/ใบกิจกรรม แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน มีค่าประสิทธิภาพ 82.11/83.68 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
         2. ผลการเรียนรู้พบว่า หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

Article Details

How to Cite
ถนอมชาติ ว. ., & บุญพิมพ์ ญ. (2023). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมวิทยาการคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(1), 1–11. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v23i1.263014
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวณระดับปฐมวัย. สืบค้น 20 กันยายน 2564, จาก https://anyflip.com/avkzf/xbde

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ บุดดา. (2564). ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวเรียนรู้ควบคู่สนุก สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารปัญญา, 28(1), 38-46.

พรรัตน์ กิ่งมะลิ. (2552). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืช โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านตําหรู จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน) เพชรบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ภัทรพล พรหมมัญ. (2561). การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking). สืบค้น 23 ตุลาคม 2564, จาก https://edu.dru.ac.th/pdf/kurusarn11.pdf

วัลลภา อำไพวรรณ. (2558). ผลของการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียน ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอำนวยวิทย์ จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). สมุทรปราการ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วิทยาการคำนวณคืออะไร. (2561). สืบค้น 23 ตุลาคม 2564, จาก https://www.patanasongsivilai.com/blog/

ศศิชา เป่าแตรสังข์. (2563). การศึกษาไทย รั้งท้ายอาเซียน. สืบค้น 24 ตุลาคม 2564, จาก https://www.blockdit.com/posts/618becec62205705ea024aa1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. สืบค้น 20 กันยายน 2564, จาก https://www.moe.go.th.upload.news20

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). หลักสูตรวิทยาการคำนวณ. กรุงเทพฯ: โกโก้พริ้นท์.

สุธารพิงค์ โนนศรีชัย. (2550). การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es). (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.