การเรียนรู้แบบผสมผสานบน Platform DBAC Style เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับต้นแบบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พัชรินทร์ เศรษฐีชัยชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน  เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้และเพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาจากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบน Platform DBAC Style เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว  สำหรับต้นแบบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 57 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  สังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน  ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดรับสมัครตามความสมัครใจ  การออกแบบการศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองสำหรับแบบกลุ่มเดียว  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน แบบทดสอบผลลัพธ์การเรียนรู้และแบบทดสอบประเมินทักษะการแก้ปัญหา  เวลาที่ใช้ในการทดลองเท่ากับ 15 ชั่วโมง  ผลการวิจัย พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบน Platform DBAC Style เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 95.18/92.74  ผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว (หลังเรียน) เท่ากับ 92.74 คะแนน (ร้อยละ 92.74)  ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์มีระดับความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบประเมินทักษะการแก้ปัญหา (หลังเรียน) เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว เท่ากับ 80.68 คะแนน (ร้อยละ 80.68)  ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์มีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

How to Cite
เศรษฐีชัยชนะ พ. . (2024). การเรียนรู้แบบผสมผสานบน Platform DBAC Style เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับต้นแบบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 92–105. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.262761
บท
บทความวิจัย

References

Aksorn. (2561). Blended Learning เรียนรู้แบบผสมผสานที่ครูไทยต้องให้ความสำคัญ. เข้าถึงได้จาก https://www.aksorn.com/blended-learning

Bangkokbiznews. (2562). เกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทย เมื่อผลสอบ 'PISA' เด็กไทยไม่ถึงค่าเฉลี่ย. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/857279

Education.Kapook. (2561). สทศ. ประกาศผลสอบ O-NET พบมีคะแนนต่ำสุดเป็น 0 ถึง 3 วิชา. เข้าถึงได้จาก httpshttps://education.kapook.com/view208264.html

Englishgang. (2561). การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning). เข้าถึงได้จาก https://englishgang.com/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%

Jirapha Lamungkhun. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SSCS. เข้าถึงได้จาก http://202.28.34.124/dspace/bitstream

Kanchit Wongherm. (2561). การพัฒนาการแก้ทักษะปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วีสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เข้าถึงได้จาก https://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle

KKU. (2562). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. เข้าถึงได้จาก https://avs.kku.ac.th/OER-KKU/101/UTQ-2107

Kritsada Worapin. (2561). การศึกษาปัญหาในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น. เข้าถึงได้จาก https http://journal.fte.kmutnb.ac.th/download

Learneducation. (2561). Blended learning การเรียนแบบผสมผสาน ตอบโจทย์ยุค New Normal. เข้าถึงได้จาก https://www.learneducation.co.th/blended-learning/

Longtunmom. (2561). คะแนน PISA คืออะไร? แล้วเด็กไทยอยู่อันดับที่เท่าไหร่?. เข้าถึงได้จาก https://www.longtunmom.com/what-is-pisa-score/

Matichon. (2561). ไขข้อสงสัย โอเน็ตเด็กไทย ยิ่งสอบ-ยิ่งต่ำ. เข้าถึงได้จากhttps://www.matichon.co.th/education/news

Natthaphon Lertnan. (2562). การศึกษายุทธวิธีในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หนึ่งขั้นตอน ที่เกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณและการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. เข้าถึงได้จาก http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext

Nipatanoy. (2561). Blended Learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน. เข้าถึงได้จากhttps://nipatanoy.wordpress.com/blended-

PPTVHD36. (2564). Hybrid learning เทรนด์การเรียนรู้ รับมือกับวิกฤตโควิด-19. เข้าถึงได้จากhttps://www.pptvhd36.com/new

Silakarn Rungrueang. (2559). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และทักษะการทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงได้จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1633?locale=th

Sirirat Pensaengsri. (2555). การเรียนแบบผสมผสานและการประยุกค์ใช้. เข้าถึงได้จาก https://lib.edu.chula.ac.th/FILEROOM/CU_FORMJOURNAL

Thaipost. (2563). ณัฏฐพล "ยอมรับกังวลผลคะแนนสอบโอเน็ต ป.6 และ ม.6 ต่ำลง ทุกวิชา. เข้าถึงได้จาก httpshttps://www.thaipost.net/main/detail/61233

Thaipublica. (2563). ธนาคารโลกชี้ คะแนน PISA เด็กไทยถดถอย ย้ำ 3 ประเด็นสำคัญ รัฐต้องเร่งแก้ด่วน. เข้าถึงได้จาก https://thaipublica.org/2020/12/world-bank-thailand-report-students-assessment/

Ukrit Thongyu. (2561). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค TGT ชั้นประถมศึกษาปีที 2. เข้าถึงได้จาก https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files

Vipu Moowong. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา. เข้าถึงได้จาก http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1059

Wattana Rattanaprom. (2561). การส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไชยาวิทยา โดยใช้วิธีการแบบเปิด. เข้าถึงได้จาก http://www.ir.sru.ac.th/handle