MOOC: ระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต

Main Article Content

ธีรัช ดวงจิโน

บทคัดย่อ

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาเป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญ ต่อการศึกษา เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศการเรียนรู้จากเดิมทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดเป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning Ecosystem) ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาในระบบที่เรียกว่า การเรียนออนไลน์ (e-learning) ซึ่งเป็นระบบการเรียนที่ออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากทุกที่ ทุกเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามเนื้อหาที่ต้องการเรียนได้ด้วยตัวเอง MOOC เป็นรูปแบบ การเรียนออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักและกำลังเป็นที่นิยมของประชาคมโลกและสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะ ในระดับอุดมศึกษา และเป็นรูปแบบที่ตอบสนองการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ภายใต้หลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) ที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างทั่วถึง ง่ายและสะดวก เนื่องจากเป็น การเรียนในระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต MOOC ยังช่วยลดปัญหาการเรียนการสอนในห้องเรียนโดยเฉพาะชั้นเรียนขนาดใหญ่ที่การสื่อสารไม่ทั่วถึงและมีจำนวนผู้เรียนมาก นอกจากนั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ โดยไม่ต้องทิ้งงานประจำ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เนื่องจากเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาตามต้องการ

Article Details

How to Cite
ดวงจิโน ธ. . (2024). MOOC: ระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(1), 1–14. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v24i1.262340
บท
บทความทางวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: เกษตร สหพันธ์สหกรณ์การพิมพ์ไทย.

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จินตวีร์ คลายสังข์. (2556). MOOCs PEDAGOGY: จาก OCW, OCR สู่ MOOCs เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สำหรับ ผู้เรียนยุคดิจิทัล. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง ประจำปี พ.ศ.2556 วันที่ 5-6 สิงหาคม 2556. จาก http://www.support.thaicyberu.go.th/proceeding/proceedingNEC2013.pdf

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (ม.ป.ป). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2565 จาก https://slc.mbu.ac.th/article/28181/

ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 1(1), 46-69.

ณฐภัทร ติณเวส และฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาระบบเปิดแบบ MOOC ของ อุดมศึกษาไทย. วารสาร Veridian E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร , 9(3), 1463-1497.

ณัฐพล ธนเชวงสกุล และ ณมน จีรังสุวรรณ. (2561). การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ เรียนรู้แบบ MIAP บนเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อส่งเสริม ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 58-69.

น้ำทิพย์ วิภาวิน และ รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2557). Massive open online course (MOOC) กับความท้าทาย ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 7(1), 78-79.

ปานใจ ธารทัศนวงศ์ และ ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์. (2564). บทเรียนออนไลน์แบบเปิดสู่มวลชน (MOOCs) เพื่อ การศึกษาไทยหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19). Journal of Teacher Professional Development, 2 (1), 20.

ประวีณา โภควณิช. (2559). ความต้องการจำเป็นของการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา เรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 316.

ปลูกเอดูเคชั่น. (2560). ทำความรู้จัก “Thai MOOC” การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/56332/-blog- newedu-new-newpr-

พัชราภรณ์ โพธิสัย. (2558). สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคำนา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัย บูรพา.

พันธิการ์ วัฒนกุล และ สุรศักดิ์ มังสิงห์. (2558). ความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(1), 84.

รัฐสภา พงษ์ภิญโญ. (2556). การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในวิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์ภิญโญ : การวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรพล รัตนพันธ์. (2556). MOOC เรียนฟรีกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/44387

สิโรดม มณีแฮด และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2561). ระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับการ เรียนรู้อย่างชาญฉลาด.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 359-373.

Downes, S. (2016). The Quality of Massive Open Online Courses. Retrieved November 23, 2021, from http://www.downes.ca/post/66145

Grafinger, D.J. (1988). Basics of instructional systems development. Alexandria: American Society for Training and Development.

Holgado, A., & Penalvo, F. J. (2017). A metamodel proposal for developing learning ecosystems. Learning and collaboration technologies: Novel learning ecosystems. Cham: Springer International Publishing.

Higgins, S., Hall, E., Wall, K., Woolner, P., & McCaughey, C. (2005). The impact of school environments: A literature review. Callaghan, NSW: University of Newcastle.

Kondratova, I., Molyneaux, H., & Fournier, H. (2017). Design considerations for competency functionality within a learning ecosystem. Learning and collaboration technologies: Novel learning ecosystems. Cham: Springer International Publishing.

Kruse, K. (2008). Introduction Design and the ADDIE Model. Retrieved November 22, 2021, from http://www.e-learningguru.com/articles/art2_1.html

Molenda, M. (2015), In Search of the Elusive ADDIE Model. Performance Improvement, 54, 40-42.

Ritchie, D. C. & Hoffman, B. (1997). Incorporating instructional design principles with the World Wide Web. In B. H. Khan (Ed.). Web-based instruction. Englewood Cliffs, NJ: Educational Technology Publications.

Weise, M. (2018). We Need to Design the Learning Ecosystem of the Future. Retrieved May 16, 2023, from http://www.edsurge.com/news/2018-02-22-michelle