การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธนรัตน์วิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิ์ภาพสื่อวีดิทัศน์ เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุนชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรจำนวน 42 คน เลือกสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุนชน จำนวน 6 แผน 2) สื่อวีดิทัศน์ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุนชน จำนวน 3 เรื่อง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิ์ภาพของสื่อวีดิทัศน์การเรียนการสอนเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุนชน มีค่า E1/E2 เท่ากับ 83.33/83.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). ความไม่รู้กฎหมายจะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง.
เดชา ลุนอุบล, จิรภรณ์ ผาจ้ำ, ปรางทิพย์ สัมพโว, และศิรินุช เสาสิมมา. (2555).ประโยชน์ของสื่อการสอน. สืบค้น14 มกราคม 2565, จาก https://sites.google.com/site/suxkarreiynkarsxnsmayhim/
ทวีศักดิ์ กุลโยชัย. (2550). ความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องรู้กฎหมาย. สืบค้น 14 มกราคม 2565, จาก http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/law/35.htm
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสําหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น จัดพิมพ์.
ประทิน คล้ายนาค. (2557). การพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ เรื่องการใช้กล้องโทรทัศน์ สำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด. (2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่183 ตอนที่ 73 ก, หน้า 5
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา. (2499). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 183 ตอนที่ 95, หน้า 25
มงคล พันธ์เพชร. (2558). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่องการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรณีศึกษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต. (รายงานการวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิภาพรรณ พินลา และวิภาดา พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิลักษณ์ กันธิพันธ์. (2566). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์). วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 3(1), 184.
อดิศักดิ์ โครตชุม.(2562). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การจัดและตกแต่งสวน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 68.
Guamatt Law. (2565). พื้นฐานกฎหมายที่ประชาชนทั่วไปต้องรู้. สืบค้น 28 มกราคม 2565, จาก https://www.guamattorneygeneral.com