นวัตกรรมวีดิทัศน์วิเคราะห์ทักษะการตบวอลเลย์บอลของนักกีฬาเยาวชน โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์

Main Article Content

ดำรงค์ฤทธิ์ จันทรา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง นวัตกรรมวีดิทัศน์วิเคราะห์ทักษะการตบวอลเลย์บอลของนักกีฬาเยาวชนโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างเครื่องมือช่วยในการรู้จำทักษะพื้นฐานของการตบบอลกีฬาวอลเลย์บอล 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพจากนวัตกรรมวีดีทัศน์ที่พัฒนาขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักกีฬาวอลเลย์บอลที่พัฒนาสู่ความเป็นเลิศในจังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งสิ้น 60 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการตบบอลต้นแบบจำนวน 4 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลประเมินการสร้างเครื่องมือช่วยในการรู้จำทักษะพื้นฐานของการตบบอลของกีฬาวอลเลย์บอล ค่าความตรงตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งฉบับมีค่า (IOC) เท่ากับ 0.88 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อคำถามพบว่าทุกข้อคำถามมีค่า (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ยกเว้นข้อคำถามด้านสามารถกลับมาแก้ไขโปรแกรมได้ วางแผนระบบโปรแกรมถูกต้อง โปรแกรมสามารถรองรับได้หลายระบบ มีค่า (IOC) เท่ากับ 0.67 2) ผลประเมินประสิทธิภาพการสร้างเครื่องมือช่วยในการรู้จำทักษะพื้นฐานของการตบบอลของกีฬาวอลเลย์บอล โดยในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.80 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านให้ผลลัพธ์ที่เชื่อมั่นได้ (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 5.00) ด้านผลการประเมินที่ได้มีความชัดเจนเข้าใจง่าย (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 5.00) ด้านสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 4.80) ด้านสามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 4.80) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
จันทรา ด. . (2023). นวัตกรรมวีดิทัศน์วิเคราะห์ทักษะการตบวอลเลย์บอลของนักกีฬาเยาวชน โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(2), 139–148. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v23i2.261058
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2560 – 2564. สำนักงานปลัดกระทรวงสำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565 เข้าถึงได้จาก https://chainat.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=672

ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์และทัสนันทน์ ตรีนันทรัตน. (2565). การพัฒนาแชตบอตปัญญาประดิษฐ์ไทยเพื่อสนับสนุนการให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 21(2), 453-468. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/242312/165431

ณัฐพล คุ้มใหญ่โต และคณะ. (2559). แนวโน้มและความท้าทายของระบบสารสนเทศสำหรับการฝึกซ้อมกีฬา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 8(2). 153-167, https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/issue/view/5394. : 153-167

นันทกร หยำวิลัย และคณะ. (2561). นวัตกรรมต้นแบบเครื่องยิงลูกวอลเลย์บอล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2 (2) สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565 สืบค้นได้จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/PTUJST/article/view/246493 : 9-21

พฤกษ์ไพร เพ็งพารา (2564). ต้นแบบแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนโดยใช้เทคโนโลยีการจดจําใบหน้า. วารสารมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 15(3). 32-45, https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FEU/article/view/249696: 32-45

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้น 27 มิถุนายน 2565 เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_ news.php?nid=2943

Mckeown, M. (2008) The Truth about Innovation. Available: https://www.scirp.org/%28S%28351jmbntvnsjt1aadkposzje%29%29/reference/referencespapers.aspx?referenceid=1831574