การศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความมีวินัยในตนเอง เจตคติทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และกรอบความคิดแบบเติบโต กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 209 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียน ประกอบไปด้วย 1) ความมีวินัยในตนเอง 2) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 3) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ 4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 5) กรอบความคิดแบบเติบโต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ สหสัมพันธ์พหุคูณ
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันมากที่สุดเท่ากับ .598 และ 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มากที่สุด ซึ่งตัวแปรที่ได้ศึกษาสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 37.40 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Z′ = -.132(Z1) - .106(Z2) + .070(Z3) + .646(Z4)* + .095(Z5)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กฤษณา ชุติมา. (2551). หลักเคมีทั่วไป เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุ
ชจรีย์ หงษ์เหลี่ยม, และ เชิดศักดิ์ ไอรมณี. (2559). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาแพทย์คณะ แพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย. เวชบันทึกศิริราช, 9(3), 131-138.
บุปผา หันทยุง. (2554). การศึกษาวินัยนักเรียนในโรงเรียนวังหลังวิทยาคม สังกัดสำนกังานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 7 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ประภัสสร วงษ์ศรี. (2541). การรับรู้อัตตสมรรถนะความภาคภูมิใจในตนเองกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ประวิตา มีเปี่ยมสมบูรณ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วารสารศรีนาลัยวิจัย, 3(6), 81-94.
ปริชาติ เบ็ญจวรรณ์. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ปัญญา ชูช่วย. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
พัฒนพงษ์ สีกา. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากการทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ปี การศึกษา 2548 ของ จังหวัดอุตรดิตถ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
พูนสุข อุดม. (2553). ครูผู้สอน : การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สสวท, 38(165), 60.
ศิวพงศ์ จำปาเทศ. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ประถมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 103-112.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). การมีกรอบความคิด แบบเติบโตของนักเรียนไทย ผลจากการประเมิน PISA 2018. ผู้แต่ง.
____. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. ผู้แต่ง.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้. กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:
สถาบันส่งเสริมการสอน สุรัตน์ เตียวเจริญ. (2543). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผล การเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
Atkinson, W. K. (1966). Motives in Fantasy, Action, and Society. New Delhi: Affiliated East- West Press, 240-241.
Blackwell, L., Trzesniewski, K., & Dweck, C. (2007). Implicit Theories of Intelligence Predict Achievement across an Adolescent Transition: A Longitudinal Study and an Intervention. Child Development, 78, 246-263.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book. McClelland, D. C. (1987). Human motivation. Cambridge University Press. Management.
Muijs, D., & Reynolds, D. (2002). Teachers ’ Beliefs and Behaviours: What Really Matters? Journal of Classroom Interaction, 37, 3-15.
Mzumara, H.R. (1996). The Relationship Between Test Expectancy and Student’s Study Behaviors. Dissertation abstracts international, 56(12): 4739.
Stiggins, R. J. (1994). Student - Centered Classroom Assessment. Newyork: Maxwell Macmillan College Publishing Company, 310.