ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารอาเซียนที่มีต่อการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

นันท์นภัสร์ พันธุวงศ์
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารอาเซียน  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นเด็กชั้นอนุบาลจำนวน 9 คน ที่กำลังศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1- 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดขนอน(ศรัทธาสุวรรณราษฎร์อุปถัมภ์) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารอาเซียน และแบบสังเกตพฤติกรรมการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัย   วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา             
        ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยมีการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมสูงขึ้นหลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารอาเซียน โดยด้านการเข้าใจวัฒนธรรมตนเองมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.00 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 9.00  รองลงมาคือด้านการเข้าใจวัฒนธรรมผู้อื่น มีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.22 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 9.00 และด้านการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมมีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.11 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 8.67 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรลดา รัตนพันธ์, ชิรวัฒน์ นิจเนตร, ชยพล วดิษและทวัช บุญแสง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันเชิงพหุวัฒนธรรมระหว่างนักเรียนไทยและนักเรียนข้ามชาติในสถานศึกษา ปฐมวัยในจังหวัดพังงา. วารสารราชภัฎสุราษฎ์ธานี, 4(1), 115-116.

นพวรรณ ยอดธรรม และปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2558). การจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนววิถีประมงพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมความตระหนักทางวัฒนธรรมในเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยบริการ, 26 (3), 37-41.

บัญญัติ ยงย่วน, ปนัดดา ธนเศรษฐกร และวสุนันท์ ชุ่มเชื้อ. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา. โครงการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม.

บัณฑิต ดุลยรักษ์ และละเอียด จุลเอียด. (2550). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดปัตตานี. ชุดโครงการวิจัยสุขภาวะและพหุวัฒนธรรมศึกษา, สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

บุษบา ทองอุปการ. (2553). ภูมิปัญญาอาหารมอญ หมู่บ้านมอญ สังขละบุรี.สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561. เข้าถึง ได้จาก: http://rlocal.kru.ac.th/index.php/th/2013-12-09-04-40-44/485-2015-08-24-08-20-18

ศรุดา นิติวรการ. (2557). วัฒนธรรมอาหารไทย...จากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2555). การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษาเรื่องการจัดการเรียนการ สอนพหุวัฒนธรรมให้กับผู้เรียนในสถานศึกษา. สถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุทธาทิพย์ ชายผา. (2541). โภชนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.

เสาวภา ศักยพันธ์. (2554). การปรับปรนและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาหารไทลื้อในเขตล้านนา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.

Branscombe & Goble. (2008). Infants and toddlers in group care: Feeding practices that foster emotional health. YC Young Children, 63(6), 28-33

Bronfenbrenner, U. (1994). Ecological Model of Human Development. International Encyclopedia of Education, 3(2), 37-43.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: Mc Graw Hill Book.

Heather Loewecke. (2015). Food as a Foundation for Global Understanding. Retrieved July 15 2018, Available: https://www.edweek.org/teaching-learning/opinion-food-as-a-foundation-for-global-understanding/2015/09

Shana Durand. (2016). Sharing Diverse Culture in Early Learning Setting. Retrieved August 20 2018, Available: https://www.geteduca.com/blog/sharing-diverse-cultures-early-learning

Stephen Tam. (2551). จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) และการเล่าเรียนในโรงเรียน (แปลจาก John dewey and Schooling โดย เพ็ชรรัตน์ จันทร์แสนวิไล). Retrieved June 28 2018. Available: http://www.thaibts.com/html/teaching.html

UNICEF. (2006). Guidelines for Early Childhood Development Services. Retrieved August 23 2018, Available: https://www.westerncape.gov.za/text/2010/12/guidelines_for_early_childhood_2_rec_29052006.pdf