ทักษะชีวิตและอาชีพสู่การเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตของประชาชน บริบทอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เมธี ดิสวัสดิ์
ธนิยา เยาดำ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในบริบทพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้   1.  สังเคราะห์ทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) รวมทั้งร่วมสนทนากลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มผู้นำชุมชน/ประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 2. ตรวจสอบคุณภาพทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยการสนทนากลุ่มและสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และพิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยการวิเคราะห์สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
         ผลการวิจัย พบว่า
         1. ผลการสังเคราะห์ทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมกับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 21 ทักษะ ดังนี้ 1) การคิดแปลกใหม่และการปรับตัวตามสถานการณ์ 2) ความคิดออกแบบ 3) ทักษะความฉลาดทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 4) ความไวต่อการรับรู้และตีความหมาย 5) การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล 6) การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ 7) การรู้เท่าทันสื่อสมัยใหม่ 8) การประเมินศักยภาพของตนเองและเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 9) การพัฒนาและปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและผู้อื่น 10) ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ 11) ภาวะผู้นำ 12) ความเชี่ยวชาญในการผลิต 13) การบูรณาการข้ามศาสตร์ 14) การใฝ่รู้ 15) การบริหารจัดการ 16) การพัฒนาให้ยั่งยืน 17) การคิดคำนวณทางการเงิน 18) การตลาด 19) การสื่อสาร 20) การใช้ภาษาต่างประเทศ 21) การสร้างเครือข่าย
         2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยพิจารณาตามเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) 3.51 ขึ้นไป และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) น้อยกว่า 1.00 พบว่า ทุกทักษะมีความถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในการวัดทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) ระหว่าง 4.17 – 4.59 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ระหว่าง 0.63 – 0.87

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2554). รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปี 2554. สืบค้นจากhttps://www.dmh.go.th/ebook/dl.asp?id=269.

ปนัดดา นกแก้ว. (2564). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ., 8(1): 263-278.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2561). รายงานทีดีอาร์ไอ: ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี. https://tdri.or.th/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี ๒๕๕๙/๒๕๖๐: แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand ๔.๐. www.onec.go.th.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเตรียมความพร้อมกลุ่มความถนัดทางสาขาวิชาและอาชีพในการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Bakhshi, H., Downing, J., Osborne, M. and Schneider, P. (2017). The Future of Skills: Employment in 2030. London: Pearson and Nesta.

Institute for the Future for the University of Phoenix Research Institute. (2011). Future work skills. Retrieved from http://www.iftf.org.

McCollum, S.B. (2014). Youth life skill development for 21st century workforce preparedness. Doctoral dissertation, North Carolina State University.

Partnership for 21st Century Skill. (2011). Framework for 21st century learning. Retrieved from http://www.p21.org.

UNICEF. (2003). Annual Report (covering 2002). Retrieved from https://www.unicef.org/publications/ .