การพัฒนาระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

จาริยา สุทธินนท์
มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
ศรีสุดา วนาลีสิน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีปัญหาการออกกลางคัน มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 4) ประเมินระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การตอบแบบสอบถาม ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาที่ออกกลางคัน ปีการศึกษา 2563 จานวน 60 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างเป็นรองอธิการบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนงานที่รับผิดชอบงานกิจการนิสิตนักศึกษา งานวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้รับผิดชอบ งานแนะแนว ให้คำปรึกษา และนิสิตนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 – 4 จานวน 54 คน ทำการสนทนากลุ่มผู้แทนมหาวิทยาลัย จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการดูแลนิสิตนักศึกษา เพื่อประเมินระบบ จำนวน 6 คน
        ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษา มากที่สุด ได้แก่ ด้านนิสิต นักศึกษา (gif.latex?\bar{x} = 2.80) รองลงมา ได้แก่ ด้านหลักสูตร (gif.latex?\bar{x} = 2.79) ความคาดหวังในชีวิตด้านการเรียน ลำดับที่ 1 สำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ร้อยละ 31.67
        ระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในระบบ ประกอบด้วย 1) ระดับมหาวิทยาลัย ผู้บริหารผลักดันให้เป็นนโยบายระดับมหาวิทยาลัย และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดให้มีผู้บริหารรับผิดชอบงานโดยตรง กำหนดให้มีเกณฑ์และสัดส่วนค่าคะแนน การประเมินกระบวนการดำเนินงานในระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของคณะ สำนักวิชา อย่างเป็นรูปธรรม 2) ระดับหน่วยงาน ฝ่ายกิจการนักศึกษาและฝ่ายวิชาการ เอื้อให้นิสิตนักศึกษาที่มีความเสี่ยงหรือ มีปัญหาสามารถพัฒนาตนเอง ตามความรับผิดชอบของหน่วยงาน เชื่อมโยงระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันกับนิสิตนักศึกษาที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีศูนย์เชื่อมโยงการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของมหาวิทยาลัยที่ทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน 3) ระดับคณะ สำนักวิชานำนโยบายมหาวิทยาลัยสู่การปฏิบัติผ่านกลไกสนับสนุน พัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือนิสิตนักศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนนิสิตนักศึกษาที่มีความเสี่ยงและมีปัญหาการออกกลางคันเป็นไปตาม แผน 4) อาจารย์ที่ปรึกษาพัฒนาความเป็นครู บุคลิกเข้าถึงง่าย พัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา วางแผนการศึกษา เชื่อมโยงเครือข่ายภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการดูแลนิสิตนักศึกษา 5) ครอบครัวติดตามสนับสนุนเชิงบวกกับ นิสิตนักศึกษา มีทักษะการสื่อสารเชิงบวกในการดูแลนิสิตนักศึกษา ดูแลช่วยเหลือ ติดตาม สนับสนุนนิสิตนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง 6) เพื่อนช่วยเพื่อน เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดสมรรถนะการดูแลช่วยเหลือตนเอง และเพื่อนในด้านการเรียนและการใช้ชีวิต และเชื่อมโยงกับอาจารย์ที่ปรึกษา คณะ สำนักวิชา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพล ยงศร. (2560). “การสูญเปล่าทางการศึกษาส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตของอุดมศึกษาไทย,” วิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18(1). 10-12.

ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พรินติ้ง.

ฐานิตา ลอยวิรัตน์, กุศล แก้วหนู และเกศริน คงจันทร์. (2558). การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฤทัยชนนี สิทธิชัย และคณะ. (2550). ศึกษาการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2542 – 2546. (รายงานวิจัย). ปัตตานี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ดารณี พิมพ์ช่างทอง และอภิรดา สุทธิสานนท์. (2558). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการเรียนรู้เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจประจำท้องถิ่นสู่สังคมแห่งการเรียนรู้,” สุทธิปริทัศน์. 29(90). 20.

นวรัตน์ การะเกษ และวรุณ กันยา. (2558). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). จำนวนนักศึกษาทั้งหมด. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.info.mua.go.th/info/.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต นักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา.

สำเนา ขจรศิลป์. (2542). มิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 2 : การพัฒนานักศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

สิริอร ข้อยุ่น, ภาสินี โทอินทร์ และวริะกาญจน์ สุเมธานุรักขกูล. (2554). การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี. อุดรธานี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี.

อรลักษณ์ เมืองชุม. (2558). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.

อลงกรณ์ ประกฤติพงศ์. (2559). การเพิ่มพันธะภาระต่อการศึกษาเพื่อลดการออกกลางคันของนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ : การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง. ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Jennifer, L., Crissmam, l., and Lee, M. U. (2004). “Challenging and supporting the first - year student : A handbook for improving the first year of college,” Jossey-Bass, An Imprint of Wiley. 7(10), 30-31.

Letseka, M. and Maile, S. (2008). High university drop-out rates : a threat to South Africa’s future. South Africa : Human Sciences Council.

Pascarella, E. T., and Terenzini, P. T. (1991). How college affects students. San Francisco : Jossey -Bass.

Rintala, U., Andersson, S. and Kairamo, A. K. (2011). How to retain students in Higher engineering education? Findings of the Attract Project. Retrieved August 22, 2019, from http://www.attractproject.org

Thapthong, S., Ratana, P., Pankeaw, P., Jengjalearn, A., and Meksamoot, K. (2014). Improving personal mastery through a nurturing program for first year students at a private university in Chiangmai, Thailand. Chiangmai : University in Chiangmai. .