การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ

Main Article Content

สุริยะ คุณวันดี
อุษณี ลลิตผสาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียน ระหว่างครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิจำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าจำนวน 10 ข้อ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนีความต้องการจำเป็น
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของครูวิทยาศาสตร์ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีความต้องการจำเป็นมากกว่าครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และการปฏิบัติที่เอื้อต่อการแสดงออกและการอภิปรายความรู้เดิมของนักเรียนเป็นความจำเป็นที่ต้องการพัฒนามากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จันทร์ประภา แก้วสีขาว และ กาญจน์ เรืองมนตรี. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้าง สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6),192-206.

ไฉไลศรี เพชรใต้ และ พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2564). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย, 15(4), 222-234.

นันทิยา ไชยมัชฌิม, อรนุช ศรีสะอาด และทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ด้านการวัดและประเมินผลการคิดวิเคราะห์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 20(1),118-133.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล. (2552). มาตรฐานสำหรับการเตรียมครูวิทยาศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(2), 24-30.

พัชราภร พูลบุญ และ ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 387-403.

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์, ชาตรี ฝ่ายคำตา และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิดเรื่อง โครงสร้างอะตอม และความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(1), 97-124.

ลฎาภา ลดาชาติและลือชา ลดาชาติ. (2560). มุมมองและความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 149-162.

ลฎาภา ลดาชาติ. (2561). แบบจำลองกับการศึกษาวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38 (4), 133-159.

ลฎาภา ลดาชาติ. (2562). การส่งเสริมความเข้าใจและการใช้แบบจำลองในการสอนวิทยาศาสตร์:กรณีศึกษากับครูวิทยาศาสตร์ประจำการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 271-284.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). สถิติ O-Net ย้อนหลัง. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2564 จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ. (2564). ผลการสอบ O-Net. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2564 จาก https://www.sesao30.go.th/document.php?type=document&action=onet.

สุริยะ คุณวันดี และร่มเกล้า อาจเดช. (2560). Modelling-based Teaching: A Strategy to Enhance Students’ Understanding of Model in Science. Proceeding of The National and International Graduate Research Conference 2017. 1662-1669.

สุวิมล ว่องวานิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bamberger, Y.M., & Davis, E.A. (2013). Middle-school science students’ scientific modelling performances across content areas and within a learning progression. International Journal of Science Education, 35(2), 213-238.

Chittleborough, G.D., & Treagust, D.F. (2009). Why models are advantageous to learning science. Educación química, 20(1), 12-17.

Justi, R.S., & Gilbert, J.K. (2002). Modelling, teachers' views on the nature of modelling, and implications for the education of modellers. International Journal of Science Education, 24(4), 369-387.

Justi, R., Costa, P. P., & Mozzer, N. B. (2011). Key teacher’s roles in supporting the co-construction of students’ knowledge in modeling-based teaching contexts. In ESERA 2011 Conference Proceedings: Nature of science, History, Philosophy, Sociology of Science. (pp. 57-63).

Krell, M., & Krüger, D. (2017). University students’ meta-modelling knowledge. Research in Science & Technological Education, 35(3), 261-273.

Next generation science standard [NGSS]. (2013). Read the Standards. Retrieved Nov 2021 from https://www.nextgenscience.org/search-standards.

Podungge, R., Rahayu, M., Setiawan, M., & Sudiro, A. (2020, June). Teacher Competence and Student Academic Achievement. In 23rd Asian Forum of Business Education (AFBE 2019) (pp. 69-74). Atlantis Press.

Praisri, A., & Faikhamta, C. (2020). Enhancing Students’ Mental Models of Chemical Equilibrium Through Argumentation within Model-based Learning. International Journal of Learning, Teaching and Educational Research, 19(7), 121-142.

Schwarz, C.V., Reiser, B.J., Davis, E.A., Kenyon, L., Achér, A., Fortus, D., & Krajcik, J. (2009). Developing a learning progression for scientific modeling: Making scientific modeling accessible and meaningful for learners. Journal of Research in Science Teaching, 46(6), 632-654.