การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New Normal เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New normal และเพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาครู โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New normal กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2564 โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา จำนวน 25 คน ในรายวิชา ESS 4801 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โปรแกรมวิชาเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โครงการสอนรายวิชา ESS 4801 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาระดับประถมศึกษา ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มี 4 ด้าน มีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New Normal เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจความพร้อม 2) กระตุ้นการคิด 3) ผลิตองค์ความรู้ 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 5) สะท้อนสู่การนำไปใช้ ซึ่งบูรณาการกับการใช้ระบบ LMS ได้แก่ Google classroom และใช้โปรแกรม/แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือดิจิทัล พบว่า นักศึกษาครูมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.28) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการทำงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.38 รองลงมา คือ ด้านการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ย คือ 4.20 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ย คือ 4.14 และที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ย คือ 4.13
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). บทความ“ผศ.อรรถพล” เปิดโมเดล “Remote Learning” ปรับการเรียนการสอนรับ COVID-19. ออนไลน์จาก https://www.eef.or.th/93-2/. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564.
บัณฑิกา จารุมา และพะยอม ก้อนในเมือง. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 433-428.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2551). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 8(2), 327-336.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). ทักษะ 7C ของครู 4.0. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติการวิจัยฉบับเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Microsoft Excel. เชียงราย : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม. (2550). สังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารการศึกษาไทย, 4(35), 31-37.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน” วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรม หลักสูตรและการเรียนรู้.
วัชรา เล่าเรียนดี ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิด และยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์. (2555). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ เรียนเชิงรุกเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราช ภัฏพระนคร. วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และพรรณี สินธพานนท์. (2552). พัฒนาทักษะการคิด? พิชิตการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bill, P. (2010). Three Principles of Effective Online Pedagogy. J Asynchronous Learn Networks, 14(1), 103-116.
Mckinney, S. E. (2008). Developing Teachers for High-Poverty Schools : The Role of the Internship Experience. Urban Education. 43(1), 68-82. Online from http://www.eric.ed.gor. Retrieved on May 2, 2021.
Partnership for 21st Century Skills. (2019). Framework for 21st Century Learning Definitions. Online from http://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_Framework_DefinitionsBFK.pdf. Retrieved on May 10, 2021.
World Health Organization. (2021). Timeline: WHO's COVID-19 response. Online from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/interactive-timeline#event- 72 Retrieved on May 20, 2021.