ผลของการฝึกด้วยการประยุกต์สถานีฝึกแบบมวยสากลที่มีต่อ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไป

Main Article Content

อทิติ วลัญช์เพียร

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยการประยุกต์สถานีฝึกแบบมวยสากลที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเพศชาย อายุ 20-25 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ร่างกายแข็งแรง และไม่ได้เป็นนักกีฬาประเภทใด จำนวน 44 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน โดยกลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตประจำวันเป็นปรกติ งดเว้นกิจกรรมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาทุกชนิด ส่วนกลุ่มทดลองทำการฝึกตามโปรแกรมแบบสถานีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 11 สถานี ฝึกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน คือวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ช่วงเวลา 17.00-18.20 น. วันละ 80 นาที ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 8 รายการ ก่อนและหลังการฝึก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกและหลังการฝึก ด้วยสถิติ Paired Sample t-test และทำการเปรียบเทียบข้อมูลทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการเปรียบเทียบแบบรวมกลุ่ม Independent test อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        ผลการวิจัยพบว่าในกลุ่มทดลอง มีดัชนีมวลกาย (22.03±4.11), เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (16.22±5.60), นั่งงอตัวไปข้างหน้า (17.13±6.93), แรงบีบมือ (41.19±4.39), แรงเหยียดขา (181.54±42.20), ลุกนั่ง (42.72±7.18), ดันพื้น (34.90±11.17) และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที (160.09±10.00) ส่วนในกลุ่มควบคุม มีดัชนีมวลกาย (23.74±6.81), เปอร์เซ็นต์ไขมัน (17.76±8.64), นั่งงอตัวไปข้างหน้า (10.59±3.54), แรงบีบมือ (38.93±5.73), แรงเหยียดขา (115.50±21.19), ลุกนั่ง (28.04±6.82), ดันพื้น (19.04±8.58) และ) และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที (118.73±15.298) มีค่าที่ดีขึ้น เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองมีสมรรถภาพที่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        สรุป การฝึกด้วยการประยุกต์สถานีฝึกแบบมวยสากล ทำให้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น ทั้งในด้านองค์ประกอบของร่างกาย, ความอ่อนตัว, ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑมาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนอายุ 19 - 59 ปี. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การป้องกันและบำบัด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการออกกำลังกาย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหติสูง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอล. กรุงเทพมหานคร: กองวิชาการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย.

จรัสศรี ศรีโภคา และคณะ. (2559). ผลการฝึกยืดเหยียดร่างกายที่มีต่อความอ่อนตัวในนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนใน รายวิชาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 28 กรกฎาคม (น. 835-842). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ Stretching Exercise. กรุงเทพมหานคร: ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

________. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด

ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ และสมชาติ บุญธรรม. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางแอน แอโรบิก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(1), 61.

ติณณ์ณชัย ถิรชัยภวัฒน์กุล ชาญชัย ชอบธรรมสกุล และชนะวงศ์ หงส์สุวรรณ. (2562). ผลการฝึกโปรแกรมการออก กำลังกายแบบวงจรที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ในหญิงที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), บทคัดย่อ.

ธนายงค์ บุญยวง. (2563). ผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่องออกกำลังกาย P-Spring ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่.

นาดิยา ยะสีงอ. (2561). ประโยชน์สุขภาพทั้งกายและใจที่ได้จากการชกมวย. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564, จาก https://hellokhunmor.com

นิวัฒน์ บุญสม. (2560). การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสาร อิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 2173-2184.

รุ้งเสาวลักษณ์ กิจเมธีกุล, สมบัติ อ่อนศิริ, อำนวย ตันพานิชย์ และวิสูตร กองจินดา. (2563). การประยุกต์ใช้หลัก FITT ในการสอนพลศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิต. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และ สันทนาการ. 46(2), 118.

วีระศักดิ์ แก้วทรัพย์. (2551). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ความหนัก 60-75 เปอร์เซ็น MHR ต่อสมรรถภาพทางกาย ของเด็กอ้วน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ อนุนิวัฒน์, ทศพล ธานี และสาธิน ประจัญบาน. (2562). ผลของการฝึก ที อาร์ เอ็กซ์ และการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายที่มีต่อความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), บทคัดย่อ.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. (2556). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชําชนไทย อายุ 19-59 ปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สุภัทรชัย สุนทรวิภาต, เจริญ กระบวนรัตน์ และนาทรพี ผลใหญ่. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบสถานีที่มีต่อความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ของนักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), บทคัดย่อ.

อริย์ธัช หนูแก้ว และวันชัย บุญรอด. (2563). ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกมวยไทยแบบวงจร ที่มีต่อความสามารถทางอากาศนิยมและสมรรถนะทางกายของนักมวยไทยอาชีพ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3), 355-367.

American College of Sports Medicine. (2006). ACSM’s guidelines for exercise testing and prescription. Philadelphia: Lippincott.