ผลการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบในรายวิชาการอยู่ค่ายพักแรม ที่มีต่อผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์และความรับผิดชอบของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

รักษิต สุทธิพงษ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในรายวิชาการอยู่ค่ายพักแรมของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) เปรียบเทียบทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบก่อนและหลังเรียนในรายวิชาการอยู่ค่ายพักแรมที่ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบในรายวิชาการอยู่ค่ายพักแรมที่ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตสาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย ชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563  จำนวน 26 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยที่ผู้เรียนมีความหลากหลายแตกต่างกันภายในกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) แบบประเมินทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent
        ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีคะแนนทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลังการรับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบสูงกว่าก่อนการรับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาสัก เต๊ะขันหมาก. (2559). การพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบโดยการสร้างโอกาสให้ทำงานเป็นทีมในรายวิชาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 1-11.

กานตินุช สถิรมนัส. (2559). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มผ่านคอมพิวเตอร์พกพาหน้าจอสัมผัสเพื่อพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2557). หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย. พิษณุโลก: เอกสารอัดสำเนา.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2563). แผนการเรียนรู้ของรายวิชา 396445 การอยู่ค่ายพักแรม. พิษณุโลก: เอกสารอัดสำเนา. ชั

ชวีร์ แก้วมณี และสุภาพร ธนะชานันท์. (2557). รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 14(1), 72-83.

ณัฐนิรันดร์ ปอศิริ. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบตาม มาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี) มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นุชจรี กิจวรรณ. (2561). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ : มุมมองใหม่ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 33(1). 5-14. นุ

ชิดา สุวแพทย์. (2562). เจตคติของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในรายวิชาทางวิศวกรรมเครื่องกล. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 วันที่ 2-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จังหวัดอุดรธานี, 961-968.

บุณฑริกา ใจกระจ่าง. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในรายวิชาบัญชีบริหาร สำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจ). วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 21(1), 94-104.

พันธ์ยุทธ น้อยพินิจ, วนินทร สุภาพ และจักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 70-84.

มาตรฐานการอุดมศึกษา. (17 สิงหาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135(199). หน้า 19

ย่าร่อนะ ศรีอาหมัด. (2564). นวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสันทนาการเป็นฐานในรายวิชาภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในองค์กรธุรกิจ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 21(2), 10-18.

ลัดดาวรรณ จันทร์ใหม่, ประกอบ ใจมั่น และกรวรรณ สืบสม. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานการคิดออกแบบเกมที่สร้างเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 19(2), 56-65.

วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2554). รายงานวิจัย เรื่อง การเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อทักษะความรับผิดชอบระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วิสันต์ พูนชัย, เจนวิทย์ วารีบ่อ, วิกันยา ประทุมยศ, เลิศชัย จิตร์อารี, และนที ยงยุทธ. (2563). การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ด้วย PC Model. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(1), 88-97.

สิทธิชัย ศรีเจริญประมง (2563). ผลการเรียนรู้โดยใช้โมเดลสุยที่มีต่อทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 31(1), 75-84.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : เอกสารอัดสำเนา.

Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.

Elgin Cleckley, Bethany Coyne, M. Kathryn Mutter, and Beth Quatrara. (2021). Using an empathic design thinking approach to reshape interprofessional curricula for health care trainees. Journal of Interprofessional Education & Practice. Volume 24, September 2021, 100446, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2405452621000331

James J. Annesi. (2020). Effects of a teen resident camp leadership program on changes in dimensions of self-control and interpersonal functioning, and their theory-based relationships. Evaluation and Program Planning. Volume 78, February 2020, 101745. from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0149718919302496

The Stanford d.school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). An Introduction to Design ThinkingPROCESS GUIDE. Retrieved November 19, 2020, from https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf

Yixuan Tong, Mao-Ying Wu, Philip L. Pearce, Junqing Zhai and Haili Shen. (2020). Children and structured holiday camping: Processes and perceived outcomes. Tourism Management Perspectives. Volume 35, July 2020, 100706 , from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S2211973620300738