ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท จำนวน 13 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 11 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 10 คน และครูจำนวน 205 คน รวมจำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการจัดลำดับ ความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.413) และ มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.688) ตามลำดับ ขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (PNImodified = 0.383) ซึ่งมีองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมั่นคงทางอารมณ์ (PNImodified = 0.408) รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNImodified = 0.379) ซึ่งมีองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมั่นคง ทางอารมณ์ (PNImodified = 0.409) และขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.363) ซึ่งมีองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมั่นคงทางอารมณ์ (PNImodified = 0.391) ทั้งนี้โรงเรียนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้วางแผนแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร พัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ที่ส่งเสริมทักษะทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย. (2563). การศึกษาโลกในศตวรรษที่ 21 : ระบบยังเหลื่อมล้ำ การเรียนรู้ยังวิกฤต. ค้นจาก https://www.the101.world/global-education/
เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษา จังหวัดชัยนาท. (2560). ผลการประเมินมาตรฐานการ ปฏิบัติงาน 2560. ค้นจาก https://sites.google.com/a/chainatpit.ac.th
จงรักษ์ หงส์งาม. (2555). ผลกระทบของทักษะทางปัญญาและทักษะทางบุคลิกลักษณะต่อรายได้ กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนาศาสตร์. 6(2). 1-22.
จักรกฤษณ์ สิริริน. (2563). Non-Cognitive Skills แนวคิดใหม่ในการบริหารการศึกษา. ค้นจาก https://www.salika.co/2020/03/03/non-cognitive-skills-part-2/
ประอร สุนทรวิภาต. (2546). การวัดและประเมินผลการศึกษา: หนึ่งในดัชนีชี้วัดคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนาย เรือ. วารสารโรงเรียนนายเรือ. 3(2). 49 - 55.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542/19/8). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่74ก. 1 – 23.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิริยะ ผลพิรุฬห์ และปังปอนด์ รักอำนวยกิจ. (2558). ทุนมนุษย์กับผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ และคณะ. (2553). การอบรมสร้างทีมวิทยากรการสอนเจตคติและทักษะเพื่อป้องกันโรค เอดส์ในกลุ่มวัยรุ่น. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พาณิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ส.เจริญการพิมพ์.
ศศิธร เห็นงาม. (2557). ปัจจัยด้านทักษะของแรงงานที่ส่งผลต่อรายได้ของแรงงานในสถานประกอบการขนาด กลางและขนาดย่อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 1(2). 52-62.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2555). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้:แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม. สืบค้นจาก https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการ จัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักบริหารงานฯ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (2562). สารสนเทศทางการศึกษา. สิงห์บุรี : สำนักงานเขตพื้นที่.
Brunello, G., and Schlotter, M. (2011). Non Cognitive Skills and Personality Traits: Labour Market Relevance and their Development in Education & Training Systems. Discuss paper presented at The European Commission, Brussel, Belgium.
Chamorro-Premuzic, T., & Furnham, A. (2003). Personality predicts academic performance: Evidence from two longitudinal university samples. Journal of Research in Personality, 37(4), 319–338.
Chamorro-Premuzic, T., & Furnham, A. (2003). Personality traits and academic examination performance. European Journal of Personality, 17(3), 237–250.
Duckworth, A. L., & Yeager, D. S. (2015). Measurement matters: Assessing personal qualities other than cognitive ability for educational purposes. Educational Researcher, 44(4), 237–251.
Gray, G., McGuinness, C., and Owende, P. (2016). Non-cognitive Factors of Learning as Early Indicators of Students At-Risk of Failing in Tertiary Education. In Myint Swe Khine and Shaljan Areepattamannil (Eds.), Non – cognitive Skills and Factors in Educational Attainment. (pp. 199 – 238). Netherland: Sense Publishers.
Heckman, J.J., Stixrud, J. and Urzua, S. (2006) "The Effects of Cognitive and Noncognitive Abilities on Labor Market Outcomes and Social Behavior," Journal of Labor Economics, 24(3): 411-482.
Khine S. M. and Areepattamannil S. (2016). Non – cognitive Skills and Factors in Educational Attainment. Natherland: Sense Publishers.
Richard D. Robert, Jonathan E. Martin and Gabriel Olaru. (2015). A Rosetta Stone for Noncognitive Skills Understanding, Assessing, and Enhancing Noncognitive Skills in Primary and Secondary Education. United state of America; Asia Society Organization.
Sanchez-Ruiz, M. J., Khoury, E. J., Saadé, G., and Salkhanian M. (2016). Non-Cognitive Variables and Academic Achievement: The Role Of General and Academic Self-Efficacy and Trait Emotional Intelligence. In Myint Swe Khine and Shaljan Areepattamannil (Eds.), Non – cognitive Skills and Factors in Educational Attainment. (pp. 65 – 86). Netherland: Sense Publishers.
World Health Organization. (1994). Life skills education for children and adolescences in school. London: Education Department of Health.