ความคาดหวังต่อความมั่นคงในชีวิตจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดสงขลา

Main Article Content

ภูริทัต สิงหเสม

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส โควิด 19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดสงขลา  และศึกษาความคาดหวังต่อความมั่นคงในชีวิต จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 ของนักศึกษาในจังหวัดสงขลา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มุ่งศึกษาความคาดหวังต่อความมั่นคงในชีวิต 4 ด้าน คือ ด้านประกอบสัมมาอาชีพ ด้านชีวิตคู่และครอบครัว ด้านสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน จากจำนวนสถาบันอุดมศึกษาทั้งสิ้น 7 แห่งในจังหวัดสงขลา ผลการวิจัย พบว่า สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันของนักศึกษาในจังหวัดสงขลา อาศัยอยู่ที่บ้านของตนเองหรือครอบครัว สถานภาพสมรสของบิดามารดาอยู่ด้วยกัน โดยมีพ่อแม่เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและค่าเล่าเรียนทั้งหมด นักศึกษาได้รับเงินจากผู้ปกครองเฉลี่ย 5,001-7, 500 บาทต่อเดือน ในกรณีที่นักศึกษามีค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอจะขอความช่วยเหลือจากบิดาและมารดา และสภาวะทางการเงินของครอบครัวอยู่ในระดับที่รายได้เพียงพอกับรายจ่าย มีเงินเหลือเก็บ
       ความคาดหวังต่อความมั่นคงในชีวิตในชีวิตจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส โควิด 19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดสงขลา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความคาดหวังต่อความมั่นคงในชีวิต ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตอยู่ในลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต ด้านการประกอบอาชีพและด้านชีวิตคู่และครอบครัวอยู่ในลำดับสุดท้าย ตามลำดับ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อความมั่นคงในชีวิต จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 มากที่สุด สามประเด็นแรก ได้แก่ 1) ด้านหน้าที่การงานเพราะนักศึกษาต้องการรายได้และสนับสนุน การมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี ของตนเองและครอบครัวและเป็นหลักประกันความมั่นคงและกำหนดแผนการใช้ชีวิต รองลงมาคือ 2) ด้านครอบครัว เพราะครอบครัวทำให้รู้สึกอบอุ่นทางจิตใจ เข้าใจให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และ 3) ด้านการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างโอกาสให้นักศึกษามีหน้าที่การงานที่ดีต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วันที่ค้นข้อมูล 25 มิถุนายน 2564,

กาญจนา บุญภักดิ์ (2563). การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์] วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, ปีที่ 19(2) A1-A6.

ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์. (2563). จิตวิทยาการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: หจก.มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2563). จิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2562). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (เล่ม2) วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนที่ 12 (พ.ศ.2560-2565). วันที่ค้นข้อมูล 2 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th

สุพัตรา รุ่งรัตน์และคณะ. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ประชาชนในเขต เทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. วันที่ค้นข้อมูล 1 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก http://wb.yru.ac.th/bitstream.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2564). พฤติกรรมที่กลายเป็นการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ระหว่างมีการระบาดของโควิด 19. วันที่ค้นข้อมูล 1 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/109439.