การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาครูประถมศึกษา

Main Article Content

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล
วรานันท์ อิศรปรีดา
กวีเชษฐ์ เปีย
ทยิดา เลิศชนะเดชา
อุบลวรรณ ส่งเสริม

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาครูประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชา ครูพี่เลี้ยง และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
        1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ได้ลงมือปฏิบัติจริงและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับสื่อที่ใช้ควรทันสมัย บูรณาการได้หลายวิชา สอดคล้องกับชีวิตและลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนการวัดและประเมินผลควรเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เน้นการประเมินตามสภาพจริง และใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย
        2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาครูประถมศึกษา (2E3P Model) พบว่า มีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ 3.1) ค้นหาและทำความเข้าใจ (Exploring and Understanding: E) 3.2) นิยามปัญหา (Problem Definition: P) 3.3) สร้างสรรค์ผลงาน (Product Creation: P) 3.4) สร้างโครงร่าง (Pattern Design: P) และ 3.5) ประเมิน ผลและการนำไปใช้ (Evaluation and Using: E) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3290

ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีณรันต์ สังหร. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย-นิรนัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace. http://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/4010

ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏ อัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Office of Academic Resources Chulalongkorn University. http://cuir.car.chula. ac.th/handle/123456789/54891

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล. (2564). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

รุจิราพร รามศิริ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็น ฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัย ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(1), 110-122.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมาน อัศวภูมิ. (2550). เส้นทางสู่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580.

สำนักงานฯ. อรรคพล คำภู. (2543). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัย วิธีการสอนแบบนิรนัยและวิธี การสอนตามคู่มือครู [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. lib.swu.ac.th. http://search.swu.ac.th/permalink/f/1912klb/ALEPH_MONO000035227

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมทักษะ การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3016

องอาจ ซึมรัมย์. (2562). ความเป็นครู. สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

Arens, F. W. (1997). Contemporary advertising. McGraw-Hill.

Ambrose, G., & Harris, P. (2009). Basics Design 08: Design Thinking. AVA Publishing SA.

Brown, T. (2009). Change by Design. Harper Collins Publisher.

Buchanan, R. (1992). Wicked Problems in Design Thinking. Design issues, 8(2), 5-21.

Cross, N. (2006). Designerly Ways of Knowing. Springer. DEX Space. (2017). Design Thinking คืออะไร (Overview). http://www.dexspace.co/design-thinking-overview.

Eggen, Paul D., Donald, P. Kauchak, & Robert, J. Harder. (1979). Strategies for Teacher Information Processing Models in the Classroom. Prentice-Hall.

Bruce, R. Joyce, & Marsha Weil. (2009). Models of teaching (8th ed.). Pearson Education.

Krippendorff, K. (2006). The Semantic Turn A New Foundation for Design. Taylor & Francis. Lardizabal, Amparo S. (1970). Methods and Principles of Teaching. Alemar-Phoenix.

Lawson, B. (2012). What Designers Know. Routledge.

Luchs, M. G., Swan, S., & Griffin, A. (2016). Design Thinking: New Product Development Essentials from the PDMA. Wiley-Blackwell.

Herbert, A. Simon. (1996). Understanding the Natural and the Artificial Worlds. MIT Press.

The Stanford d. school Bootcamp Bootleg. (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESSGUIDE. https://dschoolold.stanford.edu/sandbox/groups/esignresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf