การใช้เกมเพื่อทบทวนเนื้อหาวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้นำเกมมาใช้เพื่อทบทวนเนื้อหาวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 ของนิสิตสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 8 คน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตก่อนและหลังการเล่นเกม และศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อเกม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เกมที่ใช้ทบทวนเนื้อหาวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 จำนวน 10 เกม แบบทดสอบก่อนและหลังเล่นเกม แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อเกมที่ใช้ทบทวนเนื้อหาวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และแบบบันทึกพฤติกรรมการเล่นเกมของผู้เรียน งานวิจัยนี้มีการวิเคราะห์คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเล่นเกม วิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อเกมที่ใช้ทบทวนเนื้อหาวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 ในแต่ละด้าน วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนขณะเล่นเกม วิเคราะห์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เรียนจากการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าการใช้เกมเพื่อทบทวนเนื้อหาวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 ช่วยให้นิสิตมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยมีค่าเฉลี่ยของร้อยละความแตกต่างของคะแนนสอบก่อนและหลังเล่นเกม เพิ่มขึ้น 18.29 ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อเกมที่ใช้ทบทวนเนื้อหาวิชาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 แสดงให้เห็นว่านิสิตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งทางด้านการเรียนรู้และด้านอารมณ์ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.77 และ 4.85 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
ณัฏฐา ผิวมา. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ฉบับพิเศษครบรอบ 15 ปี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 1-15
ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน:ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย.(2560). พื้นฐานการจัดการการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบลลันกา, เจมส์ และแบรนด์, รอน. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2) [21st century skills: rethinking how students learn ] (วรพจน์ วงกิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรัตต์ อินทสระ. (2562). Game Based Learning The Latest Trend Education ๒๐๑๙ เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
Cardinot, Adriana & Fairfield, Jessamyn. (2019). Game-Based Learning to Engage Students with Physics and Astronomy Using a Board Game. International Journal of Game-Based Learning. 9(1), 42-57.
Fizza Anwer. (2019). The effect of activity-based teaching techniques on student motivation and academic achievement. Journal of Education and Educational Development .6. 154-170.